Jib en Janneke

ชวนอ่านนิทานสนุกๆ น่ารัก ใสๆ อ่านง่าย ไม่มีศัพท์อะไรยากค่ะ ชื่อหนังสือ Jib en Janneke แต่งโดย Annie M.G. Schmidt ค่ะ บอกได้เลยว่า หนังสือชื่อนี้ คนดัตช์ทุกคนรู้จักค่ะ ถึงกับมีคำพังเพยว่า “Jib en Janneke taal” แปลว่า พูดหรือเขียนให้ชัดเจน ให้เข้าใจว่าต้องการสื่ออะไร เหมือนภาษาที่ใช้ในหนังสือ Jib en Janneke ค่ะ Jib en Janneke เป็นเรื่องราวชีวิตประจำวันของเด็กสองคนค่ะ คือ Jib (เด็กผู้ชาย) กับ Janneke (เด็กผู้หญิง) ทั้งสองเป็นเพื่อนกัน บ้านก็อยู่ใกล้ๆ กัน ก็เล่นด้วยกันตามประสาเด็ก หนังสือจะเเบ่งเป็นตอนๆ แต่ละตอนสั้นๆ ค่ะ หนาไม่เกิน 3-4 หน้า และแต่ละตอนก็ไม่ได้ต่อกัน ดังนั้นจะอ่านเล่มไหน ตอนไหนก่อนก็ได้ค่ะ เล่าให้ฟังตอนหนึ่งค่ะ ชื่อตอน “Siepie is jarig” หรือ “วันเกิดของ Siepie” ซึ่ง Siepie นี่คือชื่อแมว ของ Jib ค่ะ เรื่องเริ่มต้นโดย Jib บอกกับ Janneke ว่า พรุ่งนี้จะเป็นวันเกิดของ Siepie Janneke…

"Jib en Janneke"

ติวหนังสือสอบ KNM (9) – การเมืองการปกครอง

สวัสดีค่ะ หายไปนานเลย อยู่ในช่วงกำลังเตรียมสอบ Staatsexamen I อยู่ค่ะ ถ้าสอบผ่านยังไงแล้ว จะมีรีวิวเล่าประสบการณ์ให้ฟังกันนะคะ แต่ตอนนี้ยังสอบไม่ผ่าน ขอเงียบๆ เจียมตัวไว้ก่อน อิ อิ ตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายของการติวหนังสือ Welkom in Nederland แล้วนะคะ หนังสือสั่งซื้อได้ที่นี่ค่ะ http://www.bol.com/nl/p/welkom-in-nederland/9200000045780900/ ตอนนี้จะว่าด้วยเรื่องการเมืองการปกครองค่ะ แต่ในข้อสอบไม่ได้ออกละเอียดขนาดว่า พรรคอะไรชื่อเต็มว่ายังไงนะคะ แทบไม่มีเรื่องของนโยบายพวกพรรคการเมืองด้วยซ้ำ เพียงแต่คิดว่าเราควรรู้ไว้ค่ะ เพราะเวลาดูข่าว อ่านข่าว ข่าวการเมืองมักจะเป็นข่าวยอดนิยม ถ้าเรามีความรู้พื้นฐาน เราจะอ่านข่าวได้เข้าใจขึ้นค่ะ ทุก 4 ปี จะมีการเลือกตั้ง Provinciale Staten ผู้ว่าราชการจังหวัด เรียกว่า Commissaris van de koning gemeenteraad คือ คณะทำงานใน gemeente จะมาจากการเลือกตั้ง ทุกๆ 4 ปี หัวหน้าของ gemeenteraad เรียกว่า  burgemeester (ได้มาจากการแต่งตั้ง) ในเมืองใหญ่ๆ จะมีกลุ่มคณะกรรมการเพิ่มขึ้นมา เรียกว่า deelgemeenten คนที่ทำงานในคณะกรรมการนั้นเรียกว่า deelgemeenteraad เนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกใน EU ดังนั้นทุกๆ 5 ปี จะมีการเลือกตั้ง Europees Parlement เพื่อมาเป็นตัวแทนประชุมร่วมกัน ทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง verkiezing = การเลือกตั้ง พรรคการเมือง…

"ติวหนังสือสอบ KNM (9) – การเมืองการปกครอง"

ติวหนังสือสอบ KNM(8) – ประวัติศาสตร์ประเทศเธอร์แลนด์

ใกล้จบเล่มเเล้วค่ะ เหลืออีกแค่ตอนหน้าอีกตอนเดียว… ออยแปลและจดมาจากหนังสือ Welkom in Nederland นะคะ แต่เล่มที่ออยใช้จะเป็นเล่มเก่าแล้ว หน้าปกยังเขียนว่า “kns”อันเป็นชื่อวิชาที่สอบแบบเก่าอยู่ค่ะ ฉบับพิมพ์ใหม่ปี 2015 จึงเปลี่ยนหน้าปก และเปลี่ยนชื่อเป็นการสอบ knm แทน link สั่งซื้อหนังสือค่ะ http://www.bol.com/nl/p/welkom-in-nederland/9200000045780900/ คศ. 500 – 1500  เรียก middeleeuwen ในแต่ละพื้นที่มีผู้นำของตัวเอง –> Nederlanden แปลว่า lage landen ผู้คนสมัยนั้นทำอาชีพเกษตร มีชีวิตลำบาก อายุขัยไม่ยืน โดยเฉลี่ยไม่เกิน 40 ปี คศ. 1568 – 1648 สงคราม 80 ปี กับสเปน ในปี 1974 สเปนล้อมเมือง Leiden ทำให้ผู้คนในเมืองตายเพราะอดอาหาร สเปนยกทัพออกไปวันที่ 3 ตุลาคม 1574 จึงเป็นวันเฉลิมฉลอง จัดทุกปี ในวันนั้นผู้คนในเมืองจะฉลองด้วยการกินปลาฮาริ่ง (จัดที่เมือง Leiden ที่เดียว) เจ้าชาย Willem van Oranje (Oranje เป็นชื่อเมือง ซึ่งอยู่ในประเทศฝรั่งเศส) เป็นโปรแตสเเตนท์ ปกครองเนเธอร์แลนด์ในเวลานั้น ต้องการที่จะเป็นเอกราชจากสเปน ซึ่งนับถือคาทอลิก –> ปี 1584 ถูกยิงตายที่บ้าน…

"ติวหนังสือสอบ KNM(8) – ประวัติศาสตร์ประเทศเธอร์แลนด์"

ติวหนังสือสอบ KNM(7) – งาน

สวัสดีค่ะ มาติวกันต่อค่ะ คราวนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทำงาน และสิทธิ์ต่างๆ ทีจะได้รับจากการทำงานค่ะ ก่อนอื่นขออธิบายทำความเข้าใจกับคำสองคำนี้ก่อนค่ะ คือ “toeslag” กับ “uitkering” (เป็นสองคำที่ออยเคยสับสน เพราะต่างก็คือเงินที่ได้รับจากรัฐเหมือนกัน) “toeslag” คือชื่อเรียกของเงินที่ได้รับจากกรมสรรพากรค่ะ (Belastingdienst) เช่น เงินช่วยค่าเช่าบ้าน  (huurtoeslag) เงินช่วยค่าใช้จ่ายในการฝากเด็กไว้กับสถานเลี้ยงเด็กเวลาพ่อแม่ต้องไปทำงาน (kinderopvangtoeslag) เป็นต้น “uitkering” คือเงินที่ได้รับเนื่องจากตกงานค่ะ มีแบ่งเป็นประเภทต่างๆ กันไปนะคะ ซึ่งจะมีอธิบายต่อไปในบทความนี้ค่ะ เช่นเคยค่ะ ออยแปลและจดมาจากหนังสือ Welkom in Nederland นะคะ แต่เล่มที่ออยใช้จะเป็นเล่มเก่าแล้ว หน้าปกยังเขียนว่า “kns”อันเป็นชื่อวิชาที่สอบแบบเก่าอยู่ค่ะ ฉบับพิมพ์ใหม่ปี 2015 จึงเปลี่ยนหน้าปก และเปลี่ยนชื่อเป็นการสอบ knm แทน link สั่งซื้อหนังสือค่ะ http://www.bol.com/nl/p/welkom-in-nederland/9200000045780900/ ชนิดของงาน betaald (ทำงานและได้รับเงิน) และ vrijwilligerswerk (งานอาสาสมัคร) Tijdelijk werk (งานชั่วคราว) และ vast werk  (งานประจำ) flexwerker = พนักงานชั่วคราว ทำงานโดยรับเงินเดือนจาก uitzendbureau พนักงานเหล่านี้ ไม่มีโอกาสจะได้เปลี่ยนเป็นพนักงานประจำ eigen bedrijf (มีกิจการเป็นของตัวเอง เจ้าของบริษัท) zwart werk (งานดำ การทำงานโดยไม่จ่ายภาษี) แบ่งชนิดของงาน ตามเวลาในการทำงาน Partime…

"ติวหนังสือสอบ KNM(7) – งาน"