ภาษาดัตช์

"Participatieverklaring"

อัพเดทข่าวสารการย้ายมาอยู่เนเธอร์แลนด์ระยะยาว

เริ่ม 1 ตุลาคม 2017 ผู้ที่ย้ายเข้ามาอยู่เนเธอร์แลนด์จะต้องเซ็นรับทราบการมีส่วนร่วมในสังคมดัตช์ (participatieverklaring) ถ้าปฏิเสธมีโทษปรับถึง 340 ยูโร! รัฐบาลได้ออกกฎใหม่ขึ้นมาค่ะ โดยให้ผู้อพยพทุกคนที่เป็น Inburgeringsplichtigen คือที่ต้องสอบบูรณาการภาษาและสังคมดัตช์น่ะค่ะ (ซึ่งก็คือผู้อพยพลี้ภัย และก็พวกเราสาวไทยที่ย้ายมาอยู่กับคนรักที่เนเธอร์แลนด์ด้วย) จะต้องเซ็นรับทราบในเอกสารที่เรียกว่า “participatieverklaring” ในเอกสาร “participatieverklaring” นี้จะมีเนื้อหาแจ้งให้ทราบ ว่าผู้ที่มาใหม่จะต้องรู้สิทธิ หน้าที่ และค่านิยมพื้นฐานของสังคมดัตช์ — ซึ่งทางรัฐคาดหวังว่า การมีเอกสารนี้ขึ้นมาจะทำให้ผู้มาใหม่เกิดความตระหนักเพิ่มขึ้น ถึงการต้องบูรณาการตนให้เข้ากับสังคมดัตช์ค่ะ คนที่ปฏิเสธที่จะเซ็นชื่อลงในเอกสารนี้ จะมีโทษปรับ 340 ยูโร ค่ะ และสามารถเรียกค่าปรับนี้ซ้ำได้อีก (Deze boete kan herhaald worden) และการปฎิเสธเซ็นชื่อในเอกสารนี้ สามารถส่งให้ผ่านการสอบ inburgeringsexamen และอาจจะส่งผลต่อการพิจารณาในการขอบัตรต่างด้าวแบบถาวร หรือการขอสัญชาติดัตช์ในอนาคตได้ค่ะ ทำไมกะแค่การเซ็นชื่อลงในเอกสาร participatieverklaring ถึงมีความสำคัญ ถึงขั้นรัฐบาลอยากให้คนมาใหม่เซ็นมากๆ ขนาดถ้าไม่เซ็นจะต้องโดนปรับกันเลยทีเดียว (เหมือนถูกบังคับให้เซ็นยังไงอย่างงั้นเลย) — ก็เพราะการเซ็นเอกสารนี้ จะมีผลตามกฎหมายค่ะ ว่าเรารับทราบ และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข กฎหมาย และเคารพวัฒนธรรมของการเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศนี้ — จะมาอ้างภายหลังว่า ไม่รู้ไม่ได้ (ก็เพราะเซ็นรับทราบด้วยตัวเองไปแล้ว) ออยได้แปลแบบฟอร์ม “Participatieverklaring” มาให้อ่านกันค่ะ แต่เนื่องจากออยไม่ใช่ล่ามและนักแปลสาบานตนนะคะ ดังนั้นที่แปลนี้จึงไม่ใช่แบบเป็นทางการค่ะ — ก็ได้แต่หวังว่าวันที่ 1 ตุลาคมที่เขาประกาศใช้ ทางการดัตช์จะมีเวอร์ชั่นเป็นภาษาต่างๆ ตามสัญชาติของผู้อพยพนะคะ เพราะมิเช่นนั้นจะกลายเป็นว่า เหล่าผู้มาใหม่ต้องเซ็นในเอกสารทั้งๆ ที่อ่านไม่ออก!  …

ยุ่ง เรียนดัตช์

Ik heb een drukke week voor de boeg

เป็นสำนวนค่ะ เเปลว่า “ฉันมีงานยุ่งทั้งอาทิตย์เลย” คือ จริงๆ แค่พูดว่า “Ik heb een drukke week.” ก็น่าจะเข้าใจเเล้ว แต่คนดัตช์มักจะเพิ่มคำว่า “voor de boeg” ต่อท้ายไปด้วย เพื่อเพิ่มสีสันบรรยาย ประมาณภาษาไทยว่า “มีงานท่วมหัว ยุ่งมาก” ประมาณนั้นค่ะ de boeg แปลว่า หัวเรือ ค่ะ (หัวเรือที่มีแม่ย่านางเรืออยู่น่ะค่ะ) voor de boeg แปลตรงตัวว่า หน้าหัวเรือ จึงใช้เป็นสำนวนที่แปลว่า “ล่วงหน้า” (ahead) นั่นเองค่ะ เอารูปอะไรมาลงให้เข้ากับสำนวนนี้ ก็ไม่เหมาะเท่ากับรูปโต๊ะของตัวเองค่ะ (จริงๆ เป็นโต๊ะกินข้าวค่ะ) ตอนนี้ก็รกอย่างที่เห็น 555 Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine

การพูดถึงอดีต

โครงสร้างคือ          S + Vช่วย + O + Vอดีต เช่น Ik ben gisteren naar Amsterdam geweest. Wij zijn om 17.00 uur naar huis gegaan. Mila is twee jaar geleden naar Nederland gekomen.   Vช่วย = zijn, heb, ben — จะเปลี่ยนรูปไปตามประธาน Vอดีต = ge + stam + t หรือ d  — จะไม่เปลี่ยนรูปตามประธาน ‘t ex-kofschip ถ้าเป็นคำที่ลงท้ายด้วยคำเหล่านี้ เมื่อทำให้เป็นรูปในอดีต ให้ใช้ ge + stam + t ที่เหลือ ให้ใช้ ge + stam + d — คำที่ลงท้ายด้วย -z เมื่อเปลี่ยนเป็นรูปอดีต ให้ใช้  -sd — คำที่ลงท้ายด้วย…

inburgering examen

ติวหนังสือสอบ KNM(6) – เด็กและการศึกษา

มาถึงตอนที่ 6  แล้วค่ะ ใกล้จบแล้ว คำศัพท์ในการเรียกเด็กในวัยต่างๆ กัน 0-1 ปี = baby 1-4 ปี = peuter 4-6 ปี = kleuter 6-12 ปี = schoolkind 12-18 ปี = puber อายุมากกว่า 18 ปี = volwassen ตั้งครรภ์ –> ไปหา verloskundige (เป็นผู้หญิง คล้ายๆ พยาบาลผดุงครรภ์) ให้ไปหาตั้งแต่ตั้งแต่อายุครรภ์ 2 เดือน verloskundige จะให้คำแนะนำ และช่วยในการคลอด เราสามารถเลือกได้ว่าจะคลอดลูกที่โรงพยาบาล หรือที่บ้าน ในกรณีที่การตั้งครรภ์มีปัญหา ให้ไปหา gynaecoloog (หมอสูตินารีแพทย์) ตอนตั้งท้อง ควรลงทะเบียน ขอ kraamhulp ให้มาช่วยเป็นเวลา 1 อาทิตย์หลังคลอด ค่าใช้จ่ายในการคลอด ประกันสุขภาพจ่าย consultatiebureau จะดูเเลเด็กอายุ 0-4 ปี ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพ น้ำหนัก พัฒนาการ ให้คำแนะนำแก่แม่เด็ก เรื่องอาหาร การหลับ การเล่นของลูกน้อย ให้วัคซีน groeiboekje = สมุดบันทึกวัคซีนที่เด็กได้รับ kinderopvang…