การขอสัญชาติดัตช์ — Naturalisatie

สืบเนื่องมาจากช่วยเพื่อนหาข้อมูลเรื่องการขอสัญชาติดัตช์ค่ะ ก็เลยคิดว่าไหนๆ ก็อ่านเรื่องนี้แล้ว แถมมีบางข้อความไม่เข้าใจ ก็ไปรบกวนถามพี่แป๋ว ล่ามและนักแปลแห่ง Thai voor Taal ด้วย เลยคิดว่าอย่าให้ความรู้นี้เสียเปล่าหยุดอยู่แค่เรา เอามาเขียนเป็นบทความใน @Dutchthingy ซะดีกว่า เผื่อเป็นประโยชน์แก่คนอื่นๆ ด้วยค่ะ — ทั้งหมดนี้เป็นการอธิบายตามที่อ่านเข้าใจนะคะ แต่มีอ้างอิงพร้อมค่ะ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนค่ะว่า การจะมีสัญชาติดัตช์ได้นั้น เกิดขึ้นได้ 4 ทางค่ะคือ 1. มีสัญชาติดัตช์โดยกำเนิด (Nederlander door geboorte of erkenning) — คือแบบพ่อหรือแม่เป็นคนดัตช์น่ะค่ะ ลูกก็ได้สัญชาติดัตช์ไปด้วย โดยไม่สนใจว่าจะเกิดที่ประเทศใดก็ตามค่ะ ถ้าพ่อหรือแม่มีสัญชาติดัตช์ ลูกก็ได้สัญชาติดัตช์ไปด้วยค่ะ 2. โดยการขอสัญชาติดัตช์ (Naturalisatie) — อันนี้คือที่บทความตอนนี้จะอธิบายค่ะ เป็นการขอสัญชาติที่เราคนไทยที่อาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์มีสิทธิที่จะขอได้ค่ะ 3. โดย Optie — สำหรับคนต่างชาติที่อาศัยอยู่เนเธอร์แลนด์นานๆ แล้วน่ะค่ะ — อันนี้ขอยกยอดไปเขียนเป็นบทความตอนถัดไปนะคะ 4. การถือสัญชาติดัตช์โดยอาศัยอยู่ในหมู่เกาะที่รัฐอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ อันได้แก่ เกาะ Aruba, Curaçao, Sint Maarten, Bonaire, Sint Eustatius และเกาะ Saba ค่ะ — ซึ่งอันนี้เราคนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่เข้าข่ายค่ะ เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอสัญชาติได้แก่ การขอสัญชาติมีค่าใช้จ่ายค่ะ ถ้าขอสัญชาติคนเดียวก็อยู่ที่ 866 ยูโรค่ะ ถ้ายื่นขอร่วมกันกับแฟน (ในกรณีที่แฟนของเราไม่ได้มีสัญชาติดัตช์น่ะค่ะ) อันนี้จ่าย…

"การขอสัญชาติดัตช์ — Naturalisatie"

อัพเดทข่าวสารการย้ายมาอยู่เนเธอร์แลนด์ระยะยาว

เริ่ม 1 ตุลาคม 2017 ผู้ที่ย้ายเข้ามาอยู่เนเธอร์แลนด์จะต้องเซ็นรับทราบการมีส่วนร่วมในสังคมดัตช์ (participatieverklaring) ถ้าปฏิเสธมีโทษปรับถึง 340 ยูโร! รัฐบาลได้ออกกฎใหม่ขึ้นมาค่ะ โดยให้ผู้อพยพทุกคนที่เป็น Inburgeringsplichtigen คือที่ต้องสอบบูรณาการภาษาและสังคมดัตช์น่ะค่ะ (ซึ่งก็คือผู้อพยพลี้ภัย และก็พวกเราสาวไทยที่ย้ายมาอยู่กับคนรักที่เนเธอร์แลนด์ด้วย) จะต้องเซ็นรับทราบในเอกสารที่เรียกว่า “participatieverklaring” ในเอกสาร “participatieverklaring” นี้จะมีเนื้อหาแจ้งให้ทราบ ว่าผู้ที่มาใหม่จะต้องรู้สิทธิ หน้าที่ และค่านิยมพื้นฐานของสังคมดัตช์ — ซึ่งทางรัฐคาดหวังว่า การมีเอกสารนี้ขึ้นมาจะทำให้ผู้มาใหม่เกิดความตระหนักเพิ่มขึ้น ถึงการต้องบูรณาการตนให้เข้ากับสังคมดัตช์ค่ะ คนที่ปฏิเสธที่จะเซ็นชื่อลงในเอกสารนี้ จะมีโทษปรับ 340 ยูโร ค่ะ และสามารถเรียกค่าปรับนี้ซ้ำได้อีก (Deze boete kan herhaald worden) และการปฎิเสธเซ็นชื่อในเอกสารนี้ สามารถส่งให้ผ่านการสอบ inburgeringsexamen และอาจจะส่งผลต่อการพิจารณาในการขอบัตรต่างด้าวแบบถาวร หรือการขอสัญชาติดัตช์ในอนาคตได้ค่ะ ทำไมกะแค่การเซ็นชื่อลงในเอกสาร participatieverklaring ถึงมีความสำคัญ ถึงขั้นรัฐบาลอยากให้คนมาใหม่เซ็นมากๆ ขนาดถ้าไม่เซ็นจะต้องโดนปรับกันเลยทีเดียว (เหมือนถูกบังคับให้เซ็นยังไงอย่างงั้นเลย) — ก็เพราะการเซ็นเอกสารนี้ จะมีผลตามกฎหมายค่ะ ว่าเรารับทราบ และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข กฎหมาย และเคารพวัฒนธรรมของการเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศนี้ — จะมาอ้างภายหลังว่า ไม่รู้ไม่ได้ (ก็เพราะเซ็นรับทราบด้วยตัวเองไปแล้ว) ออยได้แปลแบบฟอร์ม “Participatieverklaring” มาให้อ่านกันค่ะ แต่เนื่องจากออยไม่ใช่ล่ามและนักแปลสาบานตนนะคะ ดังนั้นที่แปลนี้จึงไม่ใช่แบบเป็นทางการค่ะ — ก็ได้แต่หวังว่าวันที่ 1 ตุลาคมที่เขาประกาศใช้ ทางการดัตช์จะมีเวอร์ชั่นเป็นภาษาต่างๆ ตามสัญชาติของผู้อพยพนะคะ เพราะมิเช่นนั้นจะกลายเป็นว่า เหล่าผู้มาใหม่ต้องเซ็นในเอกสารทั้งๆ ที่อ่านไม่ออก!  …

"อัพเดทข่าวสารการย้ายมาอยู่เนเธอร์แลนด์ระยะยาว"

เปิดจดหมายรัฐมนตรีฯ เรื่องความคืบหน้า inburgering

ก่อนอื่น ขอโฆษณาเพจของตัวเองก่อนค่ะ ตามไปคลิก Like กันได้ ในนั้นจะเน้นเล่าข่าวดัตช์ หรือศัพท์ดัตช์ทีได้จากข่าวค่ะ dutchthingy มาต่อเรื่องจดหมายค่ะ เรื่องมันมีอยู่ว่า เมื่อตอนปี 2013 รัฐบาลดัตช์เขาเปลี่ยนกฎหมายเกี่ยวกับ Inburgering ใหม่ค่ะ ให้ผู้อพยพต้องรับผิดชอบตัวเองในการเรียนภาษาดัตช์เพื่อสอบให้ผ่านอย่างต่ำ inburgeringexamen ภายใน 3 ปี นับจากที่ย้ายมาอยู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ก่อนหน้านั้น รัฐบาลสนับสนุนทางการเงิน แถมหาโรงเรียนให้เรียนด้วย) ผู้อพยพในความหมายนี้คือ คนที่ย้ายมาอยู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเป็น inburgeringsverplicht นะคะ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองส่วนค่ะ คือคนที่อพยพมาเนื่องจากมีคนรักเป็นคนดัตช์ (Gezinsmigrant) กับอีกส่วนคือคนที่เป็นผู้อพยพหนีภัยสงคราม หรือสถานการณ์การเมือง และได้สถานะผู้ลี้ภัยค่ะ (Asielmigrant) ดาวน์โหลดจดหมายตัวจริงมาอ่านกันได้ที่นี่ค่ะ Kamerbrief voortgang inburgering inburgering นี่ไม่ใช่แค่การสอบอย่างเดียวนะคะ ในความหมายนี้หมายถึงการบูรณาการ การปรับตัวเข้ากับสังคมดัตช์ในทุกๆ ด้านเลยค่ะ ทั้งภาษา วัฒนธรรม กฎระเบียบต่างๆ และตัวชี้วัดที่รัฐบาลใช้ในการประเมินว่า ผู้อพยพผ่านการบูรณาการเข้ากับสังคมดัตช์นี้หรือไม่ ก็คือ การสอบ inburgeringexamen หรือ staatsexamen นั่นเองค่ะ เนื่องด้วย กฎหมายนี้ออกมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2013 ไงคะ พอปีนี้ 2016 ก็ครบ 3 ปีพอดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการสังคมและการจ้างงาน ก็ต้องทำรายงานความคืบหน้าเสนอต่อรัฐสภาค่ะ เพื่อประเมิน ปรับปรุงกฎหมายต่อไป — กฎหมายประเทศเนเธอร์แลนด์นี่ เปลี่ยนบ่อยมากค่ะ คนดัตช์เองก็บ่น…

"เปิดจดหมายรัฐมนตรีฯ เรื่องความคืบหน้า inburgering"

ติวหนังสือสอบ KNM (9) – การเมืองการปกครอง

สวัสดีค่ะ หายไปนานเลย อยู่ในช่วงกำลังเตรียมสอบ Staatsexamen I อยู่ค่ะ ถ้าสอบผ่านยังไงแล้ว จะมีรีวิวเล่าประสบการณ์ให้ฟังกันนะคะ แต่ตอนนี้ยังสอบไม่ผ่าน ขอเงียบๆ เจียมตัวไว้ก่อน อิ อิ ตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายของการติวหนังสือ Welkom in Nederland แล้วนะคะ หนังสือสั่งซื้อได้ที่นี่ค่ะ http://www.bol.com/nl/p/welkom-in-nederland/9200000045780900/ ตอนนี้จะว่าด้วยเรื่องการเมืองการปกครองค่ะ แต่ในข้อสอบไม่ได้ออกละเอียดขนาดว่า พรรคอะไรชื่อเต็มว่ายังไงนะคะ แทบไม่มีเรื่องของนโยบายพวกพรรคการเมืองด้วยซ้ำ เพียงแต่คิดว่าเราควรรู้ไว้ค่ะ เพราะเวลาดูข่าว อ่านข่าว ข่าวการเมืองมักจะเป็นข่าวยอดนิยม ถ้าเรามีความรู้พื้นฐาน เราจะอ่านข่าวได้เข้าใจขึ้นค่ะ ทุก 4 ปี จะมีการเลือกตั้ง Provinciale Staten ผู้ว่าราชการจังหวัด เรียกว่า Commissaris van de koning gemeenteraad คือ คณะทำงานใน gemeente จะมาจากการเลือกตั้ง ทุกๆ 4 ปี หัวหน้าของ gemeenteraad เรียกว่า  burgemeester (ได้มาจากการแต่งตั้ง) ในเมืองใหญ่ๆ จะมีกลุ่มคณะกรรมการเพิ่มขึ้นมา เรียกว่า deelgemeenten คนที่ทำงานในคณะกรรมการนั้นเรียกว่า deelgemeenteraad เนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกใน EU ดังนั้นทุกๆ 5 ปี จะมีการเลือกตั้ง Europees Parlement เพื่อมาเป็นตัวแทนประชุมร่วมกัน ทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง verkiezing = การเลือกตั้ง พรรคการเมือง…

"ติวหนังสือสอบ KNM (9) – การเมืองการปกครอง"