ติวหนังสือสอบ KNM(5) – ภาษี

มาติวกันต่อค่ะ อีกนิดเดียว ใกล้จบเล่มแล้วค่ะ ให้สังเกตจะจำตัวอักษรสีแดงนะคะ เป็นคำสำคัญที่จะอาจจะออกข้อสอบได้ค่ะ

วันนี้เรามาติวกันเรื่อง “ภาษี” ค่ะ กรมสรรพากรดัตช์เวลาเขาส่งจดหมายเกี่ยวกับภาษีมาที่บ้าน จดหมายของเขาจะเป็นเอกลักษณ์มากเลยค่ะ คือเป็นซองจดหมายสีฟ้า คนดัตช์เรียก “Blauwe brief” เป็นจดหมายที่น่ากลัวที่สุดในบรรดาจดหมายทั้งหมดเลยค่ะ ไม่มีใครอยากเปิดออกมาอ่าน

ทั้งหมดที่ออยจดและแปลทั้งหมดนี้มาจากหนังสือ Welkom in Nederland ดังภาพข้างล่างนี้นะคะ

IMG_1270

  • De Belastingdienst = กรมสรรพากร
  • burgerservicenummer (BSN) หรือ sofinummer = เลขประจำตัวจ่ายภาษี
  • มนุษย์เงินเดือน ภาษีจะหัก ณ ที่จ่าย ตามสัดส่วนเงินเดือน สิ้นปีจึงขอคืนภาษี (หรือจ่ายเพิ่ม)
  • aangifte bij de Belastingdienst = ยื่นแบบจ่ายภาษี
  • heffingskortingen = ส่วนหักลดหย่อนภาษี
  • kindgebonden budget = มีลูก สามารถนำมาลดหย่อนภาษี
  • ถ้าต้องเสียภาษีเพิ่ม และรู้สึกว่าเยอะเกินไป จ่ายไม่ไหว หรือตัวเลขไม่ถูกต้อง สามารถยื่นคำร้อง (bezwaar) คัดค้านได้ หรือจะจ่ายแบบ termijnen จ่ายทีละน้อยๆต่อเดือน (ผ่อนจ่าย) ก็ได้
  • Toeslagen = เงินที่ได้รับจากสรรพากรเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น
    • Huurtoeslag
    • Zorgtoeslag
    • Kinderopvangtoeslag
  • DigiD-code
    • ใช้กับ gemeente
    • ขอเงิน toeslagen จากสรรพากร
    • UWV (หางาน)
    • kinderbijslag
    • DUO เช่น สอบ inburgerings หรือการยืมเงินเรียน
  • Kinderbijslag ได้รับอัตโนมัติ (ไม่ต้องลงทะเบียน) จาก SVB (Sociale verzekeringsbank)
  • saldo = ยอดเงินสุทธิในบัญชีธนาคาร
  • tekort = negatief saldo = rood staan = เงินในบัญชีติดลบ
  • Geld overmaken = การโอนเงิน
    • Automatisch betalen ค่าธรรมเนียมถูกที่สุด ทำได้ 2 แบบ คือ ด้วยเครื่อง (machtiging) หรือ incasso (หักผ่านบัญชีอัตโนมัติ)
    • acceptgiro = นำใบแจ้งหนี้ ไปจ่ายที่ธนาคาร
    • โอนเงินผ่านทางอินเตอร์เน็ต
  • ถ้าบัตร ATM หาย –> แจ้ง blokkeren –> แจ้งความ –> ทำบัตรใหม่
  • verblijfsvergunning = บัตรประจำตัวผู้อยู่อาศัยสำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ฮอลแลนด์นานๆ
  • vreemdelingenpolitie = ชาวต่างชาติรายงานตัวที่สถานีตำรวจเมื่อเดินทางมาถึงฮอลแลนด์ภายใน 3 วัน
  • verblijfsvergunning –> voor bepaalde tijd มีอายุ 1 ปี/3 ปี/5 ปี
  • ผู้ลี้ภัย (asielzoeker) จะได้รับ w-document (ระหว่างรอ IND ตัดสินใจในคำข้อลี้ภัย)
  • หลังจากอาศัยอยู่ในฮอลแลนด์มา 5 ปี (ถ้าไม่ได้ขอสัญชาติ) จะได้ verblijfsvergunning voor onbepaalde tijd (บัตรนี้ไม่มีวันหมดอายุ สามารถอยู่เนเธอร์แลนด์ได้นานๆ)
  • ขอสัญชาติ –> จะต้องได้รับเลือก (stemmen) จาก Tweede kamer เงื่อนไขคือ
    • อายุมากกว่า 18 ปี
    • อาศัยอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์มามากกว่า 5 ปี หรือ 3 ปีหากแต่งงานกับคนดัตช์
    • ใช้ภาษาดัตช์ได้ ผ่านระดับ A2 อย่างน้อย (ผ่าน inburgerings)
  • สามารถทำเรื่องขอสัญชาติได้ที่ gemeente
  • หลังวันที่ 1 January 2013 ผู้เรียนภาษาจะต้องจ่ายค่าเรียนภาษาดัตช์เอง หรือขอยืมเงินจาก DUO ได้
  • หลังปี 2013 มีการเปลี่ยนการสอบ inburgering เป็นแบบใหม่ (แบบที่พวกเรากำลังต้องสอบกันนี่ล่ะค่ะ) ส่วนแบบเก่าสามารถขอสอบได้จนถึง 2015
  • vrijstelling (ข้อยกเว้น) ไม่ต้องสอบ inburgering
    • มีสัญชาติดัตช์
    • อายุมากกว่า 65 ปี
    • สำเร็จการศึกษา มี diploma’s จากสถาบันการศึกษาในเนเธอร์แลนด์
    • หรือถ้าสอบ inburgerings 4 ครั้งแล้วยังไม่ผ่าน และเรียนภาษา 600 ชั่วโมง สามารถทำเรื่องขอยกเว้นได้
  • หากมีการของโรคซึมเศร้า –> ไปหา huisarts –> doorverwijzen ส่งตัวเราไปหาองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านนี้ เช่น
    • maatschappelijk werk สามารถไประบายเล่าปัญหาให้เขาฟังได้
    • Bureau Jeugdzorg ให้คำปรึกษาในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับลูก เช่น ลูกดื้อ พูดไม่ฟัง เป็นต้น
    • Riagg หรือ GGZ (geestelijke gezondheid zorg) ให้คำปรึกษาโดยเราสามารถใช้ภาษาแม่ของเราได้
  • Thuiszorg = คนที่มีปัญหาสุขภาพ ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ในบางเรื่อง ต้องให้คนอื่นมาช่วนที่บ้าน –> การประเมินผู้ป่วยที่ต้องการ thuiszorg จะได้รับการประเมินจาก CIZ หรือ huisarts
  • verpleeghuis = บ้านพักคนชรา ที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องมีคนดูเเลตลอดเวลา
  • Juridische hulp = ความช่วยเหลือทางกระบวนยุติธรรม เช่น คนต่างชาติอยากอยู่เนเธอร์แลนด์ แต่มีปัญหากับบัตร verblijfsvergunning หรือเมื่อมีปัญหาในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือต้องการหย่ากับคนรัก หรือมีปัญหากับเจ้านาย หรือ มีปัญหาในการซื้อสินค้า เช่น ซื้อรถ แต่กลับเคลมไม่ได้ ซื้อสินค้ามาไม่ได้คุณภาพอย่างที่ตกลงกันไว้ เป็นต้น
  • Sociaal Raadslieden ให้ความช่วยเหลือทางกฏหมายฟรี แต่ไม่ใช่ทนาย ให้ความช่วยเหลือเช่น
    • ช่วยให้คำแนะนำในการกรอกแบบฟอร์ม
    • ให้คำแนะนำทั่วไป
  • Juridisch Loket = สามารถถามได้ฟรี (ทำงานเช่นเดียวกับ Sociaal Raadslieden) มีนักกฏหมายทนายช่วย เสียค่าใช้จ่ายไม่แพง ชื่อเดิมของแผนกนี้คือ Bureau voor Rechtshulp
  • ทรัพย์สินของคู่สมรสจะเป็นเจ้าของร่วมกัน เรียก gemeenschap van goederen แต่บางคู่มีการแยกสินทรัพย์ ทรัพย์สินส่วนที่เป็นของตัวเอง จึงทำสัญญาก่อนแต่งงานที่เรียกว่า akte van huwelijkse voorwaarden
  • notaris (เป็นนักกฏหมาย แต่ไม่ใช่ทนายนะคะ) จะเป็นคนเขียนสัญญา เรียกว่า akte เช่น koopakte (เวลาซื้อบ้าน) trouwakte