มีกฎหมายอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างในปี 2024

1. สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ย้ายที่ทำการชั่วคราว เนื่องด้วยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮกมีกำหนดปรับปรุงซ่อมแซมอาคารที่ทำการในปี 2024 เลยจำต้องย้ายที่ทำการการให้บริการด้านกงสุลเป็นการชั่วคราว โดยที่อยู่ของอาคารที่ทำการชั่วคราว คือ Haagsche Hof (Unit D213 – D214), Parkstraat 83, 2514 JG, The Hague. โดยจะเริ่มเปิดทำการ ณ ที่อยู่ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2567 เป็นต้นไป เวลาทำการตามปกติคือวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 – 12.00 น. และ เวลา 13.30 – 17.00 น. ทั้งนี้ ผู้ที่จะติดต่อขอรับบริการด้านกงสุลยังคงต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าทางออนไลน์ ที่ลิงก์ https://hague.thaiembassy.org/th/publicservice/online-q-for-thais หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล consular@thaiembassy.nl หรือหมายเลขโทรศัพท์ 070 345 0766 2. ภาษีและกำลังซื้อ ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้น และคิดในฐานค่าแรงรายชั่วโมง ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเป็น 13.27 ยูโรต่อชั่วโมง (เพิ่มขึ้น 3.75 เปอร์เซ็นต์) และจะไม่มีค่าแรงขั้นต่ำรายเดือน รายสัปดาห์ หรือรายวันอีกต่อไป เนื่องจากในอดีตเนี่ย ทำให้บางคนที่ทำงานมาก 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่พอคิดเป็นเงินเดือนแล้ว กลับได้เงินน้อยกว่าหรือเท่ากับคนที่ทำงาน…

"มีกฎหมายอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างในปี 2024"

ระบบประกันสุขภาพของเนเธอร์แลนด์

เป็นพระราชบัญญัติประกันสุขภาพ หรือที่เรียกว่า de Zorgverzekeringswet (Zvw) ค่ะ ที่ระบุว่าทุกคนที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในเนเธอร์แลนด์ “ต้อง” ทำประกันสุขภาพ ดังนั้นทุกคนจึงมีสิทธิในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางสุขภาพ ที่เรียกว่า basispakket หลักการทั่วไปของพระราชบัญญัติประกันสุขภาพ ระบบการรักษาพยาบาลของเนเธอร์แลนด์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันค่ะ ดังนั้นไม่ว่าจะรวยจะจน เด็กหรือผู้ใหญ่ คนสุขภาพดีหรือป่วย ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการได้รับการรักษาในแบบเดียวกันในราคาที่ย่อมเยาจากแพ็คเกจประกันสุขภาพขั้นพื้นฐาน โดยทุกคนต้องทำประกันสุขภาพผ่านบริษัทประกัน และจ่ายเบี้ยประกันและภาษี เนเธอร์แลนด์ไม่มีรักษาฟรีค่ะ แต่ที่ดูเหมือนฟรี ก็เพราะทุกคนถูกบังคับให้ต้องทำประกันสุขภาพและจ่ายเบี้ยประกันทุกเดือน เนื้อหาโดยทั่วไปของพระราชบัญญัติประกันสุขภาพนี้คือ โครงสร้างพื้นฐานทางสุขภาพ (basispakket) ประกอบด้วยอะไรบ้าง แปลง่ายๆ คือสิทธิในการเข้าถึงการรักษาเบื้องต้นเวลาป่วยน่ะค่ะ ซึ่งคนที่ทำประกันทุกคน (ซึ่งก็คือคนในเนเธอร์แลนด์ทุกคน) จะได้รับคือ หากดูในรายการ basispakket ที่เราจะได้รับ ก็ดูครอบคลุมในปัญหาทางสุขภาพแทบทุกอย่างแล้วค่ะ แต่บางคนอาจต้องการจะทำประกันให้ครอบคลุมเพิ่มขึ้น เรียกว่า Aanvullende verzerkering เช่น ประกันสุขภาพสำหรับสุขภาพสายตา (ตัดแว่นสายตา เป็นต้น) หรือประกันสุขภาพดูแลช่องปาก ตรงนี้เราก็สามารถทำประกันเพิ่มได้ตามสมัครใจค่ะ คราวนี้มาดูเรื่องค่าใช้จ่ายบ้างค่ะ เพราะการทำประกันสุขภาพ และจ่ายเบี้ยประกันทุกเดือน ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะรักษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายอีกแล้วนะคะ ยังมีส่วนที่เราต้องร่วมจ่ายอยู่ค่ะ เพื่อให้เข้าใจถึงค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากเบี้ยประกันรายเดือน เราต้องรู้จัก 2 คำนี้ค่ะ คือ eigen risico และ eigen bijdragen ปี 2023 วิตามินดี ไม่อยู่ในรายการ basispakket อีกต่อไป Eigen risico คือค่ารักษาส่วนที่เราต้องจ่ายค่ะ เหมือนเราจ่ายสมทบค่ารักษาตัวเราเองน่ะค่ะ …ถึงแม้เราจะทำประกันสุขภาพและจ่ายเบี้ยรายเดือนทุกเดือนแล้วก็ตาม …แต่ถ้าเราป่วย และไปหาหมอ…

"ระบบประกันสุขภาพของเนเธอร์แลนด์"

การเสียสัญชาติดัตช์

การเสียสัญชาติดัตช์มีโอกาสเกิดขึ้นได้ (ส่วนใหญ่)ในผู้ถือสองสัญชาติเท่านั้น บทความตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายในชุดเรื่อง “สัญชาติดัตช์” ค่ะ อันประกอบไปด้วยตอนก่อนหน้านี้ 2 ตอน คือ การขอสัญชาติดัตช์ — Naturalisatie การขอสัญชาติดัตช์แบบ optie การเสียสัญชาติดัตช์มีโอกาสเกิดขึ้นได้ส่วนใหญ่ในผู้ถือสองสัญชาติค่ะ ใครที่มีแค่สัญชาติดัตช์สัญชาติเดียว ไม่ต้องกังวลค่ะ — และการเสียสัญชาติดัตช์ก็ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ด้วย มันมีเงื่อนไขต่างๆ ของมันอยู่ค่ะ การเสียสัญชาติดัตช์เกิดขึ้นได้ 2 กรณีใหญ่ๆ คือ เสียสัญชาติดัตช์โดยอัตโนมัติ ถูกถอนสัญชาติดัตช์โดยรัฐบาล เสียสัญชาติดัตช์โดยอัตโนมัติ การเสียสัญชาติแบบอัตโมมัติสำหรับบางคน จะเป็นอารมณ์เหมือนเสียสัญชาติแบบไม่รู้ตัว …คือจะไม่เหมือนการเสียสัญชาติไทยค่ะ ที่เจ้าตัวจะต้องไปทำเรื่องขอสละสัญชาติไทยที่สถานทูต และต้องมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา การเสียสัญชาติไทยจึงจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ — แต่การเสียสัญชาติดัตช์โดยอัตโนมัตินี่ บางคนมารู้ตัวเองว่าเสียสัญชาติไปแล้วก็ตอนที่ไปทำพาสปอร์ตเล่มใหม่ที่สถานทูตเนเธอร์แลนด์ (เพราะเล่มเก่าหมดอายุ) แล้วพบว่าไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีสัญชาติดัตช์แล้ว เงื่อนไขของการเสียสัญชาติดัตช์โดยอัตโนมัติคือ สมัครใจขอใช้สัญชาติอื่น แน่นอนค่ะ อันนี้ไม่มีใครบังคับ ถ้าไม่อยากถือสัญชาติดัตช์แล้ว และอยากถือสัญชาติอื่นแทน ก็ถือว่าสละสัญชาติดัตช์โดยอัตโนมัติค่ะ … แต่…มันมีข้อยกเว้นนะคะ แค่เข้าเงื่อนไขเพียง 1 ใน 3 ข้อยกเว้นต่อไปนี้ ก็สามารถถือสองสัญชาติ คือสัญชาติดัตช์เดิมของตน และอีกสัญชาติใหม่ได้แล้วค่ะ ข้อยกเว้น 1. — เกิดในประเทศที่ขอสัญชาติใหม่ และตั้งใจจะอาศัยอยู่ในประเทศนั้นเป็นหลัก (คือย้ายออกจะเนเธอร์แลนด์ มาอยู่ประเทศที่ขอสัญชาติ และเป็นประเทศเกิดด้วยค่ะ) ข้อยกเว้น 2. — สมัยเด็กๆ ก่อนที่จะอายุถึง 18 ปี เคยอาศัยอยู่ในประเทศที่ขอสัญชาติใหม่อย่างต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 5…

"การเสียสัญชาติดัตช์"

กฎหมายผู้บริจาคอวัยวะฉบับใหม่ Donorwet

ในปีหน้า วันที่ 1 กรกฎาคม 2020 กฎหมายผู้บริจาคอวัยวะของเนเธอร์แลนด์ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ค่ะ เลยอยากเขียนเล่า และอยากเชิญชวนพี่น้องชาวไทยในเนเธอร์แลนด์มาลงทะเบียนผู้บริจาคอวัยวะกันค่ะ — คือจะลงทะเบียนยินยอมบริจาคอวัยวะในกรณีเสียชีวิต หรือจะลงทะเบียน “ไม่” บริจาคอวัยวะ ก็ได้นะคะ แล้วแต่เลย แต่อยากให้ลงทะเบียน เพราะเป็นการตัดสินใจกับร่างกายของเราเอง ไม่ต้องผลักเป็นภาระของคนข้างหลังให้ลำบากใจค่ะ ความแตกต่างสำคัญของกฎหมายผู้บริจาคอวัยวะฉบับใหม่นี้คือ ให้นับว่าทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ นับเป็นผู้บริจาคอวัยวะโดยอัตโนมัติ (คือตรงกันข้ามจากเดิม ที่ทุกคนไม่ใช่ผู้บริจาคอวัยวะ ถ้าอยากบริจาคก็ต้องทำเรื่องบริจาค) เหตุผลที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ต้องออกกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาก็เพราะว่า จำนวนผู้ป่วยที่รอการบริจาคอวัยวะมีเป็นจำนวนมากค่ะ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยเสียชีวิตไป 130 – 150 คน เพราะว่ารออวัยวะจากผู้บริจาคไม่ไหว ใครมีสิทธิลงทะเบียนผู้บริจาคอวัยวะ คนที่อาศัยอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์มามากกว่า 3 ปี และอายุมากกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (ไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติดัตช์ค่ะ) ลงทะเบียนผู้บริจาคอวัยวะได้อย่างไร มีอยู่ 3 ทางเลือกค่ะคือ 1. ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.donorregister.nl การลงทะเบียนวิธีนี้ ผู้ลงทะเบียนต้องมี DigiD ค่ะ เพื่อล็อกอินในเว็บไซต์ (DigiD นี่เปรียบเสมือนบัตรประชาชนทางอิเลกทรอนิกส์ที่ประชาชนใช้ในการติดต่อกับทางราชการดัตช์ค่ะ) 2. ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ สำหรับคนที่ไม่มี DigiD ก็สามารถลงทะเบียนผู้บริจาคอวัยวะได้ค่ะ โดยไปตัดสินใจเลือกที่จะบริจาคอวัยวะหรือไม่ และกรอกแบบฟอร์ม ใส่รายละเอียดส่วนตัวได้ที่ https://mijn.donorregister.nl/#!/formulier/keuze ค่ะ (คือถ้ามี DigiD ในส่วนของข้อมูลส่วนตัว เพราะรัฐรู้อยู่แล้วว่าเราเป็นใครน่ะค่ะ) 3. ลงทะเบียนทางไปรษณีย์ วิธีไม่ค่อยสะดวกค่ะ เราสามารถไปขอแบบฟอร์มผู้บริจาคอวัยวะได้ที่ gemeente…

"กฎหมายผู้บริจาคอวัยวะฉบับใหม่ Donorwet"