การเข้ารับราชการทหาร สำหรับชายไทยในเนเธอร์แลนด์

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ปีที่แล้ว ทางสยามสมาคมเขาได้จัดงานบรรยายเรื่อง “กฎหมายไทยควรรู้ สำหรับคนไทยในต่างแดน” ขึ้นค่ะ โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานอัยการสูงสุดที่เมืองไทยมาเป็นวิทยากร จัดขึ้นที่วัดพุทธวิหาร อัมสเตอร์ดัม — ได้มีโอกาสเข้าฟังด้วย ได้รับความรู้มากมาย เลยเอาที่จดๆ มา และมาหาข้อมูลทำการบ้านเพิ่มนิดหน่อยในส่วนที่ยังไม่เข้าใจ แล้วก็นำมาเขียนเป็นบทความชิ้นนี้นี่แหละค่ะ ในงานบรรยาย มีหลายหัวข้อนะคะ เดี๋ยวว่างๆ จะทยอยเขียนเป็นบทความเพิ่มค่ะ — ตอนนี้เอาเรื่องเกณฑ์ทหารก่อนเนอะ ในบทความนี้จะเน้นเฉพาะการเกณฑ์ทหารสำหรับลูกครึ่งไทย-ดัตช์ หรือเด็กชายไทยที่ติดตามแม่มาอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์เท่านั้นนะคะ ในบทความอาจจะใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไปบ้าง และภาษาที่ใช้ก็ไม่เป็นทางการ ประมาณเอามาเล่าสู่กันฟัง — หากอยากได้แบบวิชาการจริงจัง เลื่อนลงไปคลิกลิงก์ที่เอกสารอ้างอิงท้ายบทความได้เลยค่ะ การแจ้งเกิด เด็กลูกครึ่งไทย-ดัตช์ จะมีสิทธิ์ในทั้ง 2 สัญชาติค่ะ คือทั้งสัญชาติไทย และสัญชาติเนเธอร์แลนด์ การถือ 2 สัญชาติ หมายความว่า เราเป็นทั้งคนไทยเต็มร้อย และเป็นคนดัตช์เต็มร้อย ค่ะ แปลว่า เรามีหน้าที่ของการเป็นพลเมืองทั้งไทยและดัตช์เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งคู่ค่ะ (หน้าที่พลเมืองเราจะเยอะขึ้นกว่าคนที่ถือสัญชาติเดียวค่ะ) แต่การที่เด็กลูกครึ่งจะมีสัญชาติไทยโดยสมบูรณ์ได้นั้น ก็ต้องนำสูติบัตรดัตช์ แปลและไปแจ้งเกิดที่สถานทูตค่ะ รวมถึงต้องนำชื่อเด็กไปเข้าชื่อในทะเบียนบ้านที่เมืองไทยด้วยค่ะ เพื่อที่เด็กจะได้มีเลขประจำตัวคนไทย 13 หลัก คราวนี้เนี่ย มีคุณแม่หลายคนที่กังวลว่าลูกชายจะต้องโดนเกณฑ์ทหารเมื่อโตขึ้น จึงไม่ไปแจ้งเกิดลูกที่สถานทูต หรือไม่เอาชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านที่ไทยค่ะ — ตรงนี้จะมีข้อดีคือ ลูกจะไม่เจอหมายเรียกให้ไปเกณฑ์ทหาร แล้วก็ไม่ต้องยุ่งยากเรื่องเอกสารต่างๆ ทั้งเรื่องลงทะเบียนทหารกองเกิน รับหมายเรียก ผ่อนผัน ฯลฯ …. แต่ก็มีข้อเสีย คือ เด็กจะเสียสิทธิความเป็นคนไทย…

"การเข้ารับราชการทหาร สำหรับชายไทยในเนเธอร์แลนด์"