สัญญาก่อนสมรส และการอยู่ร่วมกันแบบต่างๆ ตามกฎหมายดัตช์ (เวอร์ชั่นใส่สี)

เวอร์ชั่นเป็นวิชาการอยู่นี่ค่ะ ข้อตกลงอาศัยอยู่ร่วมกัน และสัญญาก่อนแต่งงาน (Samenlevingscontract & Huwelijkse voorwaarden) สืบเนื่องจากพี่ที่สมาคมล่ามและนักแปลไทย-ดัตช์ บอกให้หาข้อมูลและเขียนบทความเรื่องเกี่ยวกับการทำสัญญาก่อนแต่งงาน สัญญาก่อนจดทะเบียนพาร์ทเนอร์ และสัญญาการอยู่ร่วมกัน ออยก็เลยได้รับความรู้จากการค้นคว้าครั้งนี้มามากเลยทีเดียวค่ะ แต่ขัดใจตรงที่พี่เขาให้เขียนเเบบวิชาการ จะใส่สี ใส่ไข่อะไรก็ไม่ได้ …ก็เลยเป็นที่มาของ blog ส่วนตัวเรื่องนี้แหละค่ะ จะมาขยายสิ่งที่เขียนไป อธิบายเเบบภาษาง่ายๆ ใส่อารมณ์นิดๆหน่อยๆ พองาม… อีกเหตุผลที่ทำให้ออยสนใจหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้ ก็เพราะออยเคยอ่านในเวปพันทิปค่ะ หลายๆ คนต่อต้านการเซ็นสัญญาก่อนสมรสอย่างมาก แม้กระทั่งตัวออยเอง ตอนก่อนแต่งงาน ทนายความนิติกรรมยังบอกเลยว่า ผู้หญิงเอเชียมักจะต่อต้านเรื่องนี้ เขาเลยต้องขอสัมภาษณ์เพื่อให้มั่นใจว่าออยเห็นด้วยกับการเซ็นสัญญาก่อนแต่งงานตัวนี้…ยิ่งทำให้อยากรู้ค่ะ ว่ามันมีข้อดี หรือข้อเสียอย่างไร ทำไมคนดัตช์อยากให้เซ็น บางคู่ถ้าไม่เซ็นนี่ไม่แต่งนะคะ…สังเกตสิคะ คู่คนดัตช์ไม่ค่อยมีใครจะแต่งงานกันง่ายๆ บางคู่อยู่ด้วยกันจนลูกโตแล้ว ยังไม่ได้แต่งงานกันเลย ยิ่งถ้าคู่ไหน ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเคยแต่งและหย่ามาแล้วนะคะ โอกาสที่จะแต่งงานภายใต้กฎหมายฮอลแลนด์ซ้ำเป็นครั้งที่สอง สาม ยิ่งยากกกก ทวีคูณเลยค่ะ เริ่มด้วยว่า การอยู่ร่วมกันของคู่รักในประเทศเนเธอร์แลนด์ แบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ค่ะ คือ samenwonen คือการอยู่ร่วมกัน  แต่ของดัตช์ คนเขารอบคอบไงคะ ดังนั้น samenwonen จึงมีสองแบบ แบบแรก 1) คือย้ายมาอยู่ด้วยกันเฉยๆ เหมือนบ้านเรา เป็นแฟนกันแล้วก็ย้ายมาอยู่ด้วยกันน่ะค่ะ กับอีกแบบ 2) คือ มีสัญญาเป็นเรื่องเป็นราว แบบแบ่งกันไปเลยว่า ใครจะออกค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า อะไรทำนองนี้ สามารถเขียนกันเองได้นะคะ แต่ถ้าให้จริงจังขึ้นมาหน่อย คือทำเป็นสัญญาโดยทนายความนิติกรรม (Notaris)…

"สัญญาก่อนสมรส และการอยู่ร่วมกันแบบต่างๆ ตามกฎหมายดัตช์ (เวอร์ชั่นใส่สี)"

รักกัน รักกัน…แต่งงานกันนะ (แต่งงานที่ฮอลแลนด์) – 2

อย่างที่เคยเกริ่นไว้ในตอนที่  1 นะคะ ว่าการแต่งงานจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายที่ฮอลแลนด์นั้นมีหลายแบบ มีทั้งหมด 3 แบบค่ะ คือ 1. จดทะเบียนสมรส (Trouwen) 2. จดทะเบียนพาร์ทเนอร์ (Geregistreerd partnerschap) 3. จดทะเบียนแบบใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน (Samenwonen) ทั้งสามแบบนี้ สามารถจดได้ทั้งคู่ชาย-หญิง หรือคู่เพศเดียวกันก็ได้ค่ะ ต่อไปขออธิบายข้อดี ข้อเสีย ข้อแตกต่างกันของการแต่งงานแต่ละประเภทนะคะ   1. จดทะเบียนสมรส (Trouwen) เทียบเท่ากับการจดทะเบียนสมรสในเมืองไทยค่ะ ขั้นตอนก็เหมือนที่ออยเล่าไปแล้วใน ตอนที่ 1 (ถ้ายังไม่อ่าน คลิกอ่านได้เลยค่ะ http://dutchthingy.wordpress.com/2014/05/11/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1-2/) การแต่งงานนี้ ถ้ามีคู่สมรสต่อมามีลูกกัน ลูกนั้นถือว่าเป็นลูกของฝ่ายชายโดยอัตโนมัติเลยค่ะ (คือลูกเป็นของผู้หญิง แน่นอนอยู่แล้ว เพราะคลอดออกมาเอง แต่คนเป็นพ่อ บางครั้งไม่ชัดเจนค่ะ) ถึงแม้ว่า เด็กที่เกิดมานั้น อาจจะไม่ได้เป็นลูกโดยทางชีวภาพ แบบ DNA ไม่ตรงกันอะไรทำนองนี้ ถ้าจดทะเบียนสมรสกันแบบนี้ หากถึงคราวต้องเลิกกัน การหย่าร้าง ต้องขอคำสั่งจากศาลเท่านั้นค่ะ คือต้องให้ศาลเป็นคนอนุมัติ จึงจะหย่าร้างกันโดยสมบูรณ์ *** นอกเรื่องนิดค่ะ อยากเตือนสาวๆ ที่คิดจะรักหนุ่มฝรั่ง แล้วฝ่ายชายบอกว่า เขาเลิกกับภรรยาแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนหย่าร้าง คือถ้าผู้ชายยังหย่าไม่เสร็จ อยากให้สาวๆ ดูใจเขาต่ออีกนิดค่ะ อย่าเพิ่งไปตกลงใจ ตัดสินใจไปมีความสัมพันธ์กับเขา เพราะถ้าหวังว่าเขาจะหย่าเสร็จ แล้วจะมาแต่งกับเราต่อ มันอาจจะไม่ไวขนาดนั้น ขั้นตอนยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายสูง และเจ็บปวดใจมากเลยทีเดียว คือในเมืองนอก การหย่ามันไม่ได้ง่ายเหมือนเมืองไทย…

"รักกัน รักกัน…แต่งงานกันนะ (แต่งงานที่ฮอลแลนด์) – 2"

รักกัน รักกัน…แต่งงานกันนะ (แต่งงานที่ฮอลแลนด์) – 1

คู่ของออยแต่งงาน จดทะเบียนสมรสกันที่ฮอลแลนด์ค่ะ เหตุผลคือเรื่องของครอบครัวล้วนๆ เลยค่ะ คือครอบครัวทางฝ่ายสามีของออยจะสนิทกันมากกว่าครอบครัวของออย และพ่อของสามีก็เพิ่งเสียไปด้วย การจัดงานแต่งงานครั้งนี้ จึงถือเป็นการรวมญาติไปในตัว หลังจากครั้งสุดท้ายที่เจอกันที่งานศพพ่อสามี ซึ่งมีแต่ความโศกเคร้า ครั้งนี้ก็จะได้รวมกัน แบบมีความสุขกันบ้าง แต่งงานที่ฮอลแลนด์ ยุ่งยาก และใช้เวลานานมากกว่าที่เมืองไทยค่ะ ค่าใช้จ่ายก็มากกว่าด้วย การแต่งงานในความหมายในบทความนี้ คือการจดทะเบียนสมรส นะคะ เพราะมีคนไทยหลายคู่ที่จัดพิธีแต่งงานอย่างยิ่งใหญ่ แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีความผูกพันกันทางกฏหมาย แต่สำหรับคนดัตท์แล้ว การแต่งงาน หมายถึง การจดทะเบียนสมรสกันเท่านั้นค่ะ แต่จะมีงานเลี้ยงหรือไม่นั่น ก็แล้วแต่แต่ละคู่รักจะตัดสินใจ เริ่มต้นเมื่อตัดสินใจที่จะแต่งงานกันที่ฮอลแลนด์ เอกสารที่เราจะต้องเตรียมมาจากเมืองไทย มีดังนี้ 1. ใบรับรองโสด – แปลและรับรองเอกสารจากสถานกงสุล และสถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยให้เรียบร้อยค่ะ ใบรับรองโสด สามารถขอได้จากที่ว่าการอำเภอที่เรามีภูมิลำเนาอยู่ค่ะ ต้องขอด้วยตัวเองนะคะ *** ถ้ายังไม่เคยแต่งงานมาก่อน ในใบรับรองโสดต้องระบุข้อความประมาณนี้ด้วยนะคะว่า “จากข้อมูลในทะเบียนราษฏร์ ไม่พบว่าบุคคลนี้ มีการจดทะเบียนสมรสมาก่อน” ไม่งั้นทางอำเภอที่ฮอลแลนด์ จะไม่ยอมค่ะ จะทำให้เราต้องเสียเวลาไปทำเรื่องมอบอำนาจที่สถานทูตไทยในกรุงเฮก เพื่อให้คนที่บ้านเราไปเอามาให้อีกรอบ และต้องเอาไปแปล รับรองเอกสารอีกครั้ง เสียเวลามากเลยค่ะ 2. สูติบัตร – แปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองเอกสารจากสถานกงสุล และสถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยให้เรียบร้อยเช่นกันค่ะ ขอแนะนำว่า ขั้นตอนการแปล และรับรองเอกสารที่สถานกงสุล เผื่อเวลาไว้สักหนึ่งอาทิตย์ แล้วจ้างเขาทำเถอะค่ะ ถ้าเราทำเอง จะเสียเวลากับการรอนานมาก รอทั้งวัน ไม่ได้ทำอะไรเลย เราทำแค่ขั้นตอนสุดท้าย คือนำเอกสารไปประทับตราที่สถานทูตก็พอค่ะ 3. แนะนำว่า เตรียมชุดเจ้าสาว ชุดเจ้าบ่าว แหวน รองเท้า…

"รักกัน รักกัน…แต่งงานกันนะ (แต่งงานที่ฮอลแลนด์) – 1"