ติวหนังสือสอบ KNM(3) – สังคมดัตช์และเรื่องสุขภาพ

สวัสดีค่ะ มาเรียนเตรียมสอบ KNM กันต่อนะคะ เช่นเคยค่ะ ทั้งหมดนี้ออยจดและแปลมาจากหนังสือ Welkom in Nederland ของสำนักพิมพ์ Uitgeverij Coutinho นะคะ ตามรูปหนังสือด้านล่างนี้ค่ะ

IMG_1270

  • สถาบันครอบครัวของคนดัตช์ไม่ค่อยสำคัญ หากเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น ตุรกี แอฟริกา เป็นต้น ส่วนใหญ่คนในครอบครัวจะเจอหน้ากันก็ต่อเมื่อในงานวันเกิดของใครคนใดคนหนึ่ง หรือในวันคริสต์มาส
  • เพื่อนก็สำคัญเช่นเดียวกันกับครอบครัว มักจะทำอะไรๆ ดีๆ ด้วยกัน
  • เพื่อนบ้าน จะช่วยเหลือกันในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ
  • หากต้องการพบเจอใครในประเทศเนเธอร์แลนด์ ต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าก่อนเสมอ แม้กระทั่งการไปเยี่ยมคนในครอบครัว ก็ต้องทำการนัดกันล่วงหน้า มาตามนัด และนั่งคุยกัน จิบชา กาแฟ คุกกี้ หรือเค้กนิดหน่อย ด้วยกัน
  • ของขวัญ หารู้จักกันแต่ไม่สนิท จะให้ดอกไม้ หรือของขวัญเล็กๆ เวลาไปเยี่ยม
  • การให้ของขวัญทั่วไปจะให้กันในวันเกิด วันเเต่งงาน สามารถให้ของขวัญแทนคำขอบคุณ เช่น เพื่อนช่วยดูแลลูกให้ เป็นต้น
  • ของขวัญที่ให้กัน มักจะเป็นของราคาไม่แพง ของแพงๆ จะให้กันเฉพาะคนที่สนิทกัน เช่น พ่อแม่ คู่รัก
  • เมื่อคนดัตช์ได้รับของขวัญ ตามธรรมเนียมมักจะแกะเปิดดูทันที
  • ไม่มีการให้ของขวัญแก่คนที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ เช่น ตำรวจ ข้าราชการ หมอประจำบ้าน
  • การทักทาย โดยการจับมือกันเมื่อเจอกันครั้งแรก เป็นการพบปะกันเป็นทางการ หรือการแสดงความยินดี
  • จูบ 3 ครั้ง ใช้กับคนที่สนิทกัน และไม่ได้เจอกันนาน ใช้เฉพาะผู้หญิงกับผู้หญิง หรือผู้หญิงกับผู้ชาย ส่วนผู้ชายกับผู้ชายเมื่อเจอกัน จะแค่จับมือทักทายกันเฉยๆ (ยกเว้นเกย์ เวลาเกย์ผู้ชายสองคนที่สนิทกัน ทักทายกัน ก็จะจูบ 3 ครั้งเช่นกัน)
  • มองสบตาเมื่อพูดคุย แตะต้องตัวหากสนิทกัน
  • คนดัตช์สูงอายุมักพูดคุยกันเป็นทางการมากกว่าคนหนุ่มสาว
  • ความแตกต่างด้านอายุ วัฒนธรรม คนเมืองกับคนชนบท การศึกษา ทำให้แต่ละคนต่างกัน
  • การนัดหมอประจำบ้าน (huisarts) ปกติจะทำการนัดโดยผ่านผู้ช่วย (assistente) เมื่อนัดแล้ว ต้องมาให้ตรงเวลา หากไม่สามารถมาได้ตามนัด ต้องโทรเเจ้งล่วงหน้า (ส่วนใหญ่จะให้โทรแจ้งยกเลิกล่วงหน้าได้ 24 ชั่วโมงก่อนเวลานัด) หากมิเช่นนั้น จะต้องเสียค่าใช้จ่าย
  • หากไปหาหมอ แต่มีปัญหาเรื่องภาษา (ไม่สามารถพูดดัตช์หรืออังกฤษได้) สามารถนำเพื่อนที่รู้ภาษาไปด้วยได้ หรือโทรหา tolkencentrum จะมีล่าม (tolk) ให้
  • เราสามารถเลือกหมอประจำบ้าน (huisarts)ได้ แนะนำว่าให้เลือกที่ใกล้บ้าน
  • verwijsbrief คือ จดหมายที่หมอประจำบ้านส่งตัวคนไข้ไปหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
  • ถ้าเดินทางไปหาหมอประจำบ้านไม่ได้ เช่น ปวดหลังมากจนเดินไม่ได้ สามารถโทรไปนัดหมอ ให้หมอมาหาที่บ้านได้
  • telefonisch spreekuur หมอบางคนมีช่วงชั่วโมงที่คนไข้สามารถโทรมาถามคำถามสั้นๆ ได้
  • วงจรหากป่วยในเนเธอร์แลนด์     ป่วย –> huisarts –> ได้รับใบ recept –> apotheek  ซื้อยา
  • หรือในบางกรณี    ป่วย –>  huisarts –> ได้รับใบ verwijsbrief –> หา specialist เพื่อการวินิจฉัยที่ละเอียดยิ่งขึ้น
  • etiket = ฉลากยา    bijsluiter = เอกสารกำกับยา เป็นคู่มือการใช้ยา แนบมาอยู่ในกล่องยา
  • verslaafd = ติดยาเสพติด
  • การไปหา specialist บางครั้งต้องรอคิว (wachtlijst) บางทีก็ต้องรอนานเป็นเดือน specialist จะทำงานใน polikliniek ซึ่งอยู่ในโรงพยาบาล (ziekenhuis)
  • opname = admite ในโรงพยาบาล นอนโรงพยาบาล
  • การไปหาหมอที่โรงพยาบาล ต้องนำ verwijsbrief และบัตรประจำตัวประชาชนไปด้วย หากไปครั้งแรก ต้องทำ patientenpas (บัตรประจำตัวคนไข้) ที่ balie (แผนก) ในโรงพยาบาล และครั้งต่อไปที่เข้าโรงพยาบาลอีก ก็ต้องนำ verwijsbrief + ID + patienten pas ไป
  • หมอฟันที่เนเธอร์แลนด์สามารถเลือกหาได้เอง (เหมือนเมืองไทย) ควรขูดหินปูน (controle) 2 ครั้ง/ปี
  • behandeling = รักษา
  • เหตุด่วน เหตุร้าย แจ้ง 112
  • นอกเวลาทำงาน หากต้องการหมอ (แต่ไม่ได้ถึงขั้นความเป็นความตาย) ให้โทรหาเบอร์ที่ huisarts ให้มา เบอร์นี้จะเป็นเบอร์ของหมอคนอื่น หรือหมอ huisartsenpost (หมอนอกเวลา)
  • Spoedeisende Hulp (SEH) คือ แผนกฉุกเฉินในโรงพยาบาล เช่น หกล้มเเขนหัก ให้พาตัวไปหาหมอที่โรงพยาบาลเอง อย่าโทร 112 (เพราะยังไม่ใช่ความเป็นความตาย ให้ดูเเลตัวเอง)
  • ทุกคนในเนเธอร์แลนด์ต้องทำประกันสุขภาพ เด็กอายุ 0-18 ปี ประกันสุขภาพฟรี
  • zorgverzekereraar = บริษัทประกันสุขภาพ
  • premie = เงินที่จ่ายเป็นค่าประกันสุขภาพ
  • ประกันสุขภาพมีให้เลือก 3 แบบ
    • basisverzekering
    • aanvullende verzekering = ประกันสุขภาพแบบ basisverzekering บวกด้วยบริษัทประกันจ่ายค่าทำกายภาพ ซื้อแว่น บางส่วน
    • tandartsverzekering = ประกันฟัน ไม่ได้บังคับให้ทำ เด็กอายุ 0-18 ปี ทำฟันฟรี (หนังสือเขาว่างี้นะคะ ออยไม่แน่ใจรายละเอียด)
  • หลังปี 2014 ผู้เอาประกันสุขภาพต้องจ่าย eigen risico (จ่ายค่าความเสี่ยงของสุขภาพ) ขั้นปกติอยู่ที่ 360 ยูโรต่อปี ถ้าจ่ายน้อยกว่านี้ก็ได้ เรียกว่า vriwillig eigen risico จะทำให้จ่ายค่าประกันสุขภาพรายเดือนลดลง แต่ถ้าเกิดป่วยขึ้นมา ก็ต้องจ่ายขั้นต่ำสูงขึ้น (ปี 2015 เงิน eigen risico เพิ่มเป็น 375 ยูโรต่อคนต่อปีแล้วค่ะ)
  • polis = การติดต่อกับบริษัทประกันสุขภาพ
  • een pil = ยา …แต่… de pil = ยาคุมกำเนิด ซึ่งการซื้อยาคุมกำเนิดจะซื้อได้ก็ต่อเมื่อมีใบ recept จาก huisarts เท่านั้น
  • sterilisatie = การทำหมัน
  • ถุงยางอนามัย สามารถซื้อได้ตาม drogist, apotheek และ automaat
  • soa = seksueel overdraagbare aandoening = โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์
  • เดือนมกราคมของทุกปี ประชาชนสามารถเปลี่ยนบริษัทประกันสุขภาพ เเละชนิดของประกันสุขภาพได้
  • ถ้าการรักษาที่ไม่แน่ใจว่าประกันจะครอบคลุมหรือไม่ ให้โทรถามก่อน การรักษาบางอย่างอาจต้องออกเงินไปก่อน เช่น การทำฟัน
  • declareren = ค่าใช้จ่ายการรักษาที่จ่ายไปก่อน และบริษัทประกันสุขภาพจ่ายคืนให้ภายหลัง
  • สำหรับคนที่รายได้น้อย เงิน premie ที่จ่ายไป สามารถขอคืนได้บางส่วนจาก Belastingdienst เรียกว่า zorgtoeslag
  • อายุขัยเฉลี่ยของคนดัตช์ ผู้หญิง 83 ปี ผู้ชาย 80 ปี
  • kanker = โรคมะเร็ง

2 thoughts on “ติวหนังสือสอบ KNM(3) – สังคมดัตช์และเรื่องสุขภาพ

  1. Dear คุณออย

    ขอบคุณมากค่ะสำหรับการแปล ดิฉันได้ซื้อหนังสือเล่มนี้มาเรียบร้อยแล้วค่ะ จากการแนะนำจากคุณออยค่ะ ดีใจมากเลยที่คุณออยแปลจากหนังสือเล่มนี้ ได้ความรู้มากเลยค่ะ จะติดตามต่อไปเรื่อยๆ นะคะ

    ขอบคุณมากค่ะ?
    Pat Lelystad

    Date: Sat, 19 Sep 2015 17:55:35 +0000
    To: ikthai_295@hotmail.com

    1. ยินดีค่ะคุณ Pat
      ดีใจที่มีประโยชน์ จะพยายามเขียนให้จบเร็วๆ นะคะ 🙂

Comments are closed.