PSD2 – ระบบธุรกรรมใหม่ เปลี่ยนวงการธนาคารยุโรป (อธิบายตามความเข้าใจ)

PSD2 – ประวัติ PSD2 ย่อมาจากภาษาอังกฤษที่ว่า Payment Services Directive แล้วก็มีเลข 2 ต่อท้าย เพราะเป็นเวอร์ชั่นที่ 2 ค่ะ — เวอร์ชั่นแรกคือ PSD เฉยๆ ไม่มีเลขใดๆ ตามหลัง ประกาศใช้โดยสหภาพยุโรปเมื่อปี 2007 ค่ะ ส่วน PSD2 นี้เป็นฉบับปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้น และประกาศใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2018 ที่ผ่านมาค่ะ สหภาพยุโรปเนี่ยจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกฎระเบียบ และเป็นสถาบันกลางควบคุมทางการเงินของภาครัฐในยุโรปค่ะ และด้วยเหตุที่เทคโนโลยีทางการทำธุรกรรมออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลง สหภาพยุโรปจึงต้องทบทวนและออกกฎระเบียบให้ทันสมัยและตอบรับการควบคุมผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ รวมถึงสนับสนุนให้ยุโรปเป็นตลาดเดียว (The Single Euro Payments Area – SEPA) ทำให้เกิดการแข่งขัน เกิดนวัตกรรมทางการเงินใหม่ และให้การโอนเงินในยุโรปเป็นไปอย่างสะดวกขึ้น รวดเร็ว ปลอดภัย มาตรฐานเดียวกัน และไม่มีค่าธรรมเนียมการโอนค่ะ PSD2 ถึงแม้ว่าจะประกาศใช้ไปแล้วก็ตาม แต่ยังมีประเทศในสหภาพยุโรปหลายประเทศที่ยังไม่พร้อม หรือยังมีข้อกังขาในการปฎิบัติตามเงื่อนไขใน PSD2 นี้ค่ะ — แต่ที่แน่ๆ ประเทศเนเธอร์แลนด์ สวีเดน และเบลเยี่ยม พร้อมมากกก… และเริ่มนำ PSD2 มาใช้แล้วค่ะ   PSD2 – ความหมาย PSD2 เป็นระเบียบใหม่ในการชำระเงิน ระบบ Payment system น่ะค่ะ…

"PSD2 – ระบบธุรกรรมใหม่ เปลี่ยนวงการธนาคารยุโรป (อธิบายตามความเข้าใจ)"

Statiegeld : การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์จัดว่าเป็นประเทศที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีประเทศหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ ประเทศนี้มีมาตรการหลายอย่างในการที่จะกระตุ้นในประชาชนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม หลังจากที่เคยเขียนเล่าระบบการจัดการขยะในครัวเรือนของประเทศเนเธอร์แลนด์ไปแล้วเมื่อปีก่อน บทความตอนนี้ขอนำเสนออีกหนึ่งในการจัดการขยะอย่างแยบยลของประเทศนี้ค่ะ (มีใช้ทั่วยุโรปนะคแต่ขอเล่าเฉพาะของเนเธอร์แลนด์ประเทศเดียว ประเทศอื่นไม่มีประสบการณ์ตรง) และนั่นก็คือระบบ Statiegeld ค่ะ   Statiegeld คืออะไร Statiegeld คือเงินมัดจำที่ได้คืนจากการนำขวดเปล่า เช่น ขวดเบียร์ ขวดน้ำอัดลม ไปคืนร้านค้าค่ะ –คือเวลาที่เราซื้อสินค้าเหล่านี้ เช่น เบียร์ (ขวดแก้ว) หรือซื้อเบียร์ยกลัง (ลังเป็นลังพลาสติกค่ะ) หรือซื้อน้ำอัดลมขวดพลาสติกที่มีขนาดมากกว่า 0.5 ลิตร สินค้าเหล่านี้จะบวกเงินมัดจำ Statiegeld ไว้เรียบร้อยแล้วค่ะ และเราจะได้เงินจำนวนนี้คืนเมือนำขวดเหล่านี้ไปคืนร้านค้า คือระบบที่นี้ถ้าเปรียบไปกับของเมืองไทย ก็คล้ายๆ ขวดน้ำอัดลมที่เป็นขวดแก้วน่ะค่ะ ที่ร้านค้าต้องจ่ายค่ามัดจำลังและขวด ดังนั้นเวลาขาย แม่ค้าจึงขายน้ำอัดลมแบบใส่แก้ว หรือใส่ถุงใส่น้ำแข็งให้ลูกค้า ไม่ได้ขายทั้งขวด — แต่เนื่องจากระบบนี้ไม่ได้มีกับสินค้าพวกขวดเบียร์ หรือขวดน้ำเปล่า น้ำอัดลมขนาดใหญ่ ดังนั้นคนทั่วไปจึงทิ้ง กลายเป็นขยะ และก็มีอาชีพคนเก็บขยะมาคอยเก็บขยะพวกนี้ไปขายอีกต่อหนึ่ง — แต่ที่แตกต่างจากของฮอลแลนด์คือ ระบบมัดจำขวดนี้ของเมืองไทย ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมค่ะ แต่อยู่บนแรงจูงใจของการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ ดังนั้นจึงไม่ได้ลดขยะแต่อย่างใด กลับเป็นการเพิ่มขยะถุงพาสติกอีกต่างหาก ในขณะที่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์มีระบบเงินมัดจำ Statiegeld จึงทำให้คนดัตช์ทั่วไปที่ซื้อสินค้าเหล่านี้ ไม่ทิ้งขวดที่ใช้แล้วลงถังขยะค่ะ หากแต่จะเก็บรวบรวมไว้ เพื่อไปแลกเอาเงินมัดจำคืน — ถึงแม้เงินมัดจำจะเป็นเงินแค่น้อยนิด (เทียบกับค่าครองชีพ) แต่เหมือนเป็นจิตวิทยาน่ะค่ะ ทำให้คนไม่ทิ้งขยะขวดเหล่านั้น แต่จะเก็บไว้แลกเงินคืน   สินค้าอะไรบ้างที่มี Statiegeld ไม่ใช่ขวดทุกใบมี Statiegeld ค่ะ อย่างขวดแก้ว เช่น ขวดไวน์ เวลาซื้อไม่มีเงินมัดจำ…

"Statiegeld : การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เนเธอร์แลนด์"

รหัสสีเตือนภัยพิบัติของเนเธอร์แลนด์

กรมอุตุนิยมวิทยาดัตช์ (ชื่อเต็มคือ Koninklijk Nederlands Meteorologisch Instituut หรือย่อว่า KNMI) เนี่ยเขาจะมีการเตือนสภาพอากาศ และอุบัติภัย ภัยธรรมชาติต่างๆ ออกเป็นรหัสสีค่ะ (อันนี้ชาติอื่นก็อาจจะมีเหมือนกันนะคะ แต่เมืองไทยไม่มีแบบนี้ เลยขอเอามาเล่าสักหน่อยล่ะกัน) รหัสสี (Kleurcodes) มีทั้งหมด 4 สีค่ะ คือ สีเขียว สีเหลือง สีส้ม และสีแดง 1. รหัสสีเขียว (Code groen) = สภาพอากาศปกติ ไม่มีอะไรเป็นอันตรายที่ต้องระวังเป็นพิเศษ 2. รหัสสีเหลือง (Code geel) = ต้องระวัง อาจจะมีความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่เป็นอันตราย เช่น ฝนตกหนัก หิมะตกทำให้ถนนลื่น เป็นต้น รหัสสีเหลืองจะประกาศออกมาล่วงหน้า 48 ชั่วโมงก่อนที่ปรากฏการณ์สภาพอากาศที่เป็นอันตรายนั้นจะเกิดขึ้นจริง และการรับประกันการเกิดขึ้นจริงอย่างน้อย 60 % 3. รหัสสีส้ม (Code oranje) = ต้องเตรียมตัว ถ้ากรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนรหัสนี้ จะเริ่มออกเป็นข่าวใหญ่เตือนไปทั่วประเทศค่ะ จะเจอเป็นพาดหัวข่าว Code Oranje …. เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมตัวค่ะ รหัสสีส้มนี้แปลว่า มีความเสี่ยงที่ของสภาพอากาศไม่น้อยกว่า 60% ที่จะเป็นอันตรายหรือส่งผลกระทบรุนแรง มีขนาดใหญ่และมีความเสี่ยงของการเกิดความเสียหายการบาดเจ็บหรือความไม่สะดวกขึ้น รหัสสีส้มจะประกาศล่วงหน้า 24 ชั่วโมงก่อนการเกิดขึ้นจริงค่ะ 4. รหัสสีแดง (Code rood)…

"รหัสสีเตือนภัยพิบัติของเนเธอร์แลนด์"

รีวิวหนังสือ The Dutch and their Delta

ออยเขียนรีวิวหนังสือเล่มนี้ไว้ในอีก blog หนึ่งค่ะ http://kasibanbooks.blogspot.nl/แต่คิดว่า น่าจะ copy มาไว้ในนี้ด้วยดีกว่า เพราะได้ความรู้ และน่าสนใจมากที่เดียวค่ะ ถึงเรื่องการจัดการน้ำของคนดัตช์ หนังสือเล่มนี้ออยยืมมาจากห้องสมุดนะคะ หาอ่านกันได้ค่ะ   หนังสือชื่อ  :  The Dutch and their Delta                 Living below sea level ผู้แต่ง  :  Jacob Vossestein สำนักพิมพ์  :  XPat Media เนื่อง ด้วยออยย้ายมาอยู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ค่ะ  จึงอยากรู้จักประเทศนี้ให้มากขึ้น เลยหาหนังสือเล่มนี้มาอ่าน อ่านแล้วไม่ผิดหวังค่ะ รู้จักประเทศนี้ และเข้าใจคนดัตช์มากขึ้นจริงๆ คำ กล่าวที่ว่า “God created the earth, but the Dutch crated the Netherlands” ไม่ไกลเกินความจริงเลยค่ะ ถ้าได้อ่านหนังสือเล่มนี้ จะรู้สึกเคารพ และทึ่งในความพยายามของมนุษย์มากเลยทีเดียว สมัย เด็กๆ เคยอ่านข่าวเจอว่า เนเธอร์แลนด์มีจังหวัดเพิ่มขึ้นอีกจังหวัดหนึ่ง จากการสร้างขึ้นมาด้วยฝีมือมนุษย์ ตอนนั้นก็คิดว่าเขาถมทะเล เอาขยะ ดิน สิ่งต่างๆ มาถมทะเล เกิดเป็นแผ่นดินใหม่ …แต่ ความจริงแล้วไม่ใช่เลยค่ะ ดัตช์ไม่มีถมทะเล ผืนดินที่ได้มา เกิดจากการสูบน้ำออกทั้งสิ้น!!! ถมทะเลไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สูบน้ำทะเลออกเพื่อสร้างผืนดิน นี่ยากกว่าค่ะ…

"รีวิวหนังสือ The Dutch and their Delta"