แบบทดสอบ คุณรู้กฎจราจรสำหรับรถจักรยานดีแค่ไหน ?

เนเธอร์แลนด์เป็นเมืองจักรยาน ของขวัญที่เด็กๆ ดัตช์ได้รับเมื่อพอเริ่มจะเดินได้คล่อง คือจักรยานของเล่น (ลักษณะเหมือนจักรยานเลยค่ะ แต่ปั่นไม่ได้ ให้เด็กเดินคล่อมเดิน เหมือนสมมุติเอาว่านั่นคือจักรยาน) — พอโตมาหน่อยก็ได้รถจักรยานเล็กๆ สำหรับเด็ก แล้วพ่อแม่ก็เริ่มหัดจักรยานให้ลูกๆ ค่ะ แต่เมื่อตอนต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีข่าวรายงานออกมาค่ะว่า สถิติที่เด็กๆ ดัตช์อายุระหว่าง 4-18 ปีได้รับอุบัติเหตุจากการปั่นจักรยานไปโรงเรียนเพิ่มขึ้นค่ะ ครึ่งปีนี้มีเด็กๆ ได้รับอุบัติเหตุไปแล้ว 3,100 ครั้ง เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันนี้ของปี 2014 ที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น 2,600 ครั้งค่ะ สาเหตุก็เนื่องมาจากการจราจรค่ะ โรงเรียนเองก็ขนาดใหญ่ขึ้น การจราจรรอบๆ โรงเรียนก็วุ่นวายขึ้น — รูปแบบของถนนก็มีส่วนค่ะ เพราะถนนบางสายไม่ได้มีเลนสำหรับจักรยานแยกออกมาต่างหาก เช่นถนนในเมืองเก่าๆ อย่างเมือง Enschede, Groningen และ Hilversum จะมีสถิติของจักรยานได้รับอุบัติเหตุมากกว่าเมืองที่ก่อตั้งใหม่อย่าง Almere ซึ่งได้ออกแบบให้มีเลนจักรยานแยกต่างหากกับถนน แต่พฤติกรรมการใช้จักรยานของเด็กเองก็มีส่วนค่ะ จะไปโทษคนขับรถทั้งหมดไม่ได้ เด็กบางคนปั่นจักรยานไป มือก็วุ่นวายกับสมาร์ทโฟน ไม่ได้สนใจดูรถ ซึ่งอันตรายมากค่ะ แต่ก็ไม่ใช่แค่เด็กๆ นะคะที่ประสบการณ์ในการปั่นจักรยานยังน้อย และเสี่ยงแก่การเกิดอุบัติเหตุ เราคนไทยที่ย้ายมาอยู่เนเธอร์แลนด์ก็เช่นกันค่ะ — ที่เมืองไทยไม่มีถนนสำหรับจักรยาน เราไม่ค่อยได้ปั่นจักรยานบนถนนใหญ่ๆ ร่วมกับรถราที่สัญจรไปมา อีกทั้งกฎจราจรไทยกับดัตช์ก็ต่างกัน ป้ายจราจรต่างๆ ก็ต่างกัน ดังนั้นคนไทยเราก็เสี่ยงต่ออุบัติเหตุเช่นกันค่ะ ด้วยเหตุนี้ #Dutchthingy จึงได้แปลและดัดแปลงทำบททดสอบเรื่อง “คุณรู้กฎจราจรสำหรับรถจักรยานดีแค่ไหน? ” มาทดสอบกันสนุกๆ ค่ะ และหวังว่าจะได้ความรู้แฝงไปด้วย — มาค่ะ มาลองทำกันดู   อ้างอิง…

"แบบทดสอบ คุณรู้กฎจราจรสำหรับรถจักรยานดีแค่ไหน ?"

Statiegeld : การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์จัดว่าเป็นประเทศที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีประเทศหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ ประเทศนี้มีมาตรการหลายอย่างในการที่จะกระตุ้นในประชาชนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม หลังจากที่เคยเขียนเล่าระบบการจัดการขยะในครัวเรือนของประเทศเนเธอร์แลนด์ไปแล้วเมื่อปีก่อน บทความตอนนี้ขอนำเสนออีกหนึ่งในการจัดการขยะอย่างแยบยลของประเทศนี้ค่ะ (มีใช้ทั่วยุโรปนะคแต่ขอเล่าเฉพาะของเนเธอร์แลนด์ประเทศเดียว ประเทศอื่นไม่มีประสบการณ์ตรง) และนั่นก็คือระบบ Statiegeld ค่ะ   Statiegeld คืออะไร Statiegeld คือเงินมัดจำที่ได้คืนจากการนำขวดเปล่า เช่น ขวดเบียร์ ขวดน้ำอัดลม ไปคืนร้านค้าค่ะ –คือเวลาที่เราซื้อสินค้าเหล่านี้ เช่น เบียร์ (ขวดแก้ว) หรือซื้อเบียร์ยกลัง (ลังเป็นลังพลาสติกค่ะ) หรือซื้อน้ำอัดลมขวดพลาสติกที่มีขนาดมากกว่า 0.5 ลิตร สินค้าเหล่านี้จะบวกเงินมัดจำ Statiegeld ไว้เรียบร้อยแล้วค่ะ และเราจะได้เงินจำนวนนี้คืนเมือนำขวดเหล่านี้ไปคืนร้านค้า คือระบบที่นี้ถ้าเปรียบไปกับของเมืองไทย ก็คล้ายๆ ขวดน้ำอัดลมที่เป็นขวดแก้วน่ะค่ะ ที่ร้านค้าต้องจ่ายค่ามัดจำลังและขวด ดังนั้นเวลาขาย แม่ค้าจึงขายน้ำอัดลมแบบใส่แก้ว หรือใส่ถุงใส่น้ำแข็งให้ลูกค้า ไม่ได้ขายทั้งขวด — แต่เนื่องจากระบบนี้ไม่ได้มีกับสินค้าพวกขวดเบียร์ หรือขวดน้ำเปล่า น้ำอัดลมขนาดใหญ่ ดังนั้นคนทั่วไปจึงทิ้ง กลายเป็นขยะ และก็มีอาชีพคนเก็บขยะมาคอยเก็บขยะพวกนี้ไปขายอีกต่อหนึ่ง — แต่ที่แตกต่างจากของฮอลแลนด์คือ ระบบมัดจำขวดนี้ของเมืองไทย ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมค่ะ แต่อยู่บนแรงจูงใจของการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ ดังนั้นจึงไม่ได้ลดขยะแต่อย่างใด กลับเป็นการเพิ่มขยะถุงพาสติกอีกต่างหาก ในขณะที่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์มีระบบเงินมัดจำ Statiegeld จึงทำให้คนดัตช์ทั่วไปที่ซื้อสินค้าเหล่านี้ ไม่ทิ้งขวดที่ใช้แล้วลงถังขยะค่ะ หากแต่จะเก็บรวบรวมไว้ เพื่อไปแลกเอาเงินมัดจำคืน — ถึงแม้เงินมัดจำจะเป็นเงินแค่น้อยนิด (เทียบกับค่าครองชีพ) แต่เหมือนเป็นจิตวิทยาน่ะค่ะ ทำให้คนไม่ทิ้งขยะขวดเหล่านั้น แต่จะเก็บไว้แลกเงินคืน   สินค้าอะไรบ้างที่มี Statiegeld ไม่ใช่ขวดทุกใบมี Statiegeld ค่ะ อย่างขวดแก้ว เช่น ขวดไวน์ เวลาซื้อไม่มีเงินมัดจำ…

"Statiegeld : การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เนเธอร์แลนด์"

สรุปข่าวไข่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงที่เนเธอร์แลนด์

ไข่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงชื่อ “ฟิโปรนิล (fipronil)” เป็นข่าวใหญ่ที่เนเธอร์แลนด์ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาค่ะ Dutchthingy ติดตามข่าวมาโดยตลอด และได้นำเสนอเล่าข่าวในเวอร์ชั่นภาษาไทยไว้ในเฟสบุ๊ก Dutchthingy ค่ะ — และตอนนี้ สถานการณ์ที่เนเธอร์แลนด์เริ่มคลี่คลายแล้วค่ะ แต่ที่ต่างประเทศเพิ่งกลายเป็นประเด็นตื่นตระหนกกัน ดังนั้นจึงคิดว่า ควรจะทำเป็นสรุปข่าว เพื่อที่ผู้อ่านชาวไทยจะได้ทราบสถานการณ์จริงตั้งแต่เริ่มค่ะ และหวังว่าสถานการณ์และการจัดการกับปัญหาของทางการเนเธอร์แลนด์จะเป็นบทเรียนให้เมืองไทยได้ศึกษาต่อการจัดการปัญหาเรื่องความปลอดภัยทางด้านอาหารด้วยค่ะ เริ่มต้นด้วยบริษัทรับกำจัดไรไก่ ชื่อ “Chickfriend” ค่ะ บริษัทนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Barneveld จังหวัด Gelderland เจ้าของบริษัทชื่อนาย Eigenaren Martin van de B. (อายุ 31 ปี) และนาย Mathijs IJ. (อายุ 24 ปี) บริษัทได้เปิดตัวเทคนิคที่รับประกันว่ากำจัดไรไก่ได้ดีและยาวนานกว่าคู่แข่ง ในงานแสดงสินค้าทางการเกษตรเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาค่ะ โดยเทคนิคนี้รับประกันว่า ฟาร์มจะปลอดไรไก่ได้ยาวนานถึง 6 เดือน ในขณะที่บริษัทคู่แข่งอื่นๆ รับประกันได้แค่ 3 เดือนค่ะ เมื่อโฆษณาว่าดีเช่นนี้ จึงทำให้มีลูกค้า เจ้าของฟาร์มไก่ไข่มาใช้บริการมากมายค่ะ –ยาที่บริษัท Chickfriend ใช้ในการกำจัดไรไก่ มีชื่อทางการค้าว่า ‘Dega-16’ และเมื่อมีคนสอบถามว่า ในตัวยานี้ประกอบด้วยสารเคมีอะไร ทั้งคู่ก็จะไม่บอกค่ะ เป็นความลับของบริษัท บอกเพียงแค่ว่า ยาตัวนี้ถูกต้องตามกฎหมาย กิจการของบริษัท Chickfriend ประสบความสำเร็จมาก มีลูกค้าทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ รวมถึงเบลเยี่ยมด้วยค่ะ — มีข่าวลือมาบ้างเหมือนกันว่า บริษัทนี้ใช้ยาต้องห้ามที่ทางการดัตช์ห้ามไม่ให้ใช้กับปศุสัตว์ — แต่ไม่มีหลักฐาน รวมถึงลูกค้าก็คิดว่า…

"สรุปข่าวไข่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงที่เนเธอร์แลนด์"

ป้ายจราจรดัตช์ ตอนที่ 3

ป้ายจราจรดัตช์ ตอนนี้เป็นตอนที่ 3 ค่ะ เป็นป้ายในหมวด G, H และ J โดย ป้ายหมวด G = Verkeersregels เป็นป้ายบอกพวกกฎจราจรต่างๆ ป้ายหมวด H = Bebouwde kom ป้ายบอกเขตชุมชน จะเป็นสี่เหลี่ยม พื้นสีน้ำเงิน ตัวอักษรสีขาว บอกชื่อเมืองค่ะ ป้ายหมวด J = Waarschuwing ป้ายหมวดนี้จะเป็นป้ายสามเหลี่ยม พื้นที่ขาว ขอบสีแดง เป็นป้ายเตือนให้ระวังค่ะ  

"ป้ายจราจรดัตช์ ตอนที่ 3"