การขอสัญชาติดัตช์ — Naturalisatie

สืบเนื่องมาจากช่วยเพื่อนหาข้อมูลเรื่องการขอสัญชาติดัตช์ค่ะ ก็เลยคิดว่าไหนๆ ก็อ่านเรื่องนี้แล้ว แถมมีบางข้อความไม่เข้าใจ ก็ไปรบกวนถามพี่แป๋ว ล่ามและนักแปลแห่ง Thai voor Taal ด้วย เลยคิดว่าอย่าให้ความรู้นี้เสียเปล่าหยุดอยู่แค่เรา เอามาเขียนเป็นบทความใน @Dutchthingy ซะดีกว่า เผื่อเป็นประโยชน์แก่คนอื่นๆ ด้วยค่ะ — ทั้งหมดนี้เป็นการอธิบายตามที่อ่านเข้าใจนะคะ แต่มีอ้างอิงพร้อมค่ะ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนค่ะว่า การจะมีสัญชาติดัตช์ได้นั้น เกิดขึ้นได้ 4 ทางค่ะคือ 1. มีสัญชาติดัตช์โดยกำเนิด (Nederlander door geboorte of erkenning) — คือแบบพ่อหรือแม่เป็นคนดัตช์น่ะค่ะ ลูกก็ได้สัญชาติดัตช์ไปด้วย โดยไม่สนใจว่าจะเกิดที่ประเทศใดก็ตามค่ะ ถ้าพ่อหรือแม่มีสัญชาติดัตช์ ลูกก็ได้สัญชาติดัตช์ไปด้วยค่ะ 2. โดยการขอสัญชาติดัตช์ (Naturalisatie) — อันนี้คือที่บทความตอนนี้จะอธิบายค่ะ เป็นการขอสัญชาติที่เราคนไทยที่อาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์มีสิทธิที่จะขอได้ค่ะ 3. โดย Optie — สำหรับคนต่างชาติที่อาศัยอยู่เนเธอร์แลนด์นานๆ แล้วน่ะค่ะ — อันนี้ขอยกยอดไปเขียนเป็นบทความตอนถัดไปนะคะ 4. การถือสัญชาติดัตช์โดยอาศัยอยู่ในหมู่เกาะที่รัฐอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ อันได้แก่ เกาะ Aruba, Curaçao, Sint Maarten, Bonaire, Sint Eustatius และเกาะ Saba ค่ะ — ซึ่งอันนี้เราคนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่เข้าข่ายค่ะ เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอสัญชาติได้แก่ การขอสัญชาติมีค่าใช้จ่ายค่ะ ถ้าขอสัญชาติคนเดียวก็อยู่ที่ 866 ยูโรค่ะ ถ้ายื่นขอร่วมกันกับแฟน (ในกรณีที่แฟนของเราไม่ได้มีสัญชาติดัตช์น่ะค่ะ) อันนี้จ่าย…

"การขอสัญชาติดัตช์ — Naturalisatie"

PSD2 – ระบบธุรกรรมใหม่ เปลี่ยนวงการธนาคารยุโรป (อธิบายตามความเข้าใจ)

PSD2 – ประวัติ PSD2 ย่อมาจากภาษาอังกฤษที่ว่า Payment Services Directive แล้วก็มีเลข 2 ต่อท้าย เพราะเป็นเวอร์ชั่นที่ 2 ค่ะ — เวอร์ชั่นแรกคือ PSD เฉยๆ ไม่มีเลขใดๆ ตามหลัง ประกาศใช้โดยสหภาพยุโรปเมื่อปี 2007 ค่ะ ส่วน PSD2 นี้เป็นฉบับปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้น และประกาศใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2018 ที่ผ่านมาค่ะ สหภาพยุโรปเนี่ยจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและกฎระเบียบ และเป็นสถาบันกลางควบคุมทางการเงินของภาครัฐในยุโรปค่ะ และด้วยเหตุที่เทคโนโลยีทางการทำธุรกรรมออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลง สหภาพยุโรปจึงต้องทบทวนและออกกฎระเบียบให้ทันสมัยและตอบรับการควบคุมผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ รวมถึงสนับสนุนให้ยุโรปเป็นตลาดเดียว (The Single Euro Payments Area – SEPA) ทำให้เกิดการแข่งขัน เกิดนวัตกรรมทางการเงินใหม่ และให้การโอนเงินในยุโรปเป็นไปอย่างสะดวกขึ้น รวดเร็ว ปลอดภัย มาตรฐานเดียวกัน และไม่มีค่าธรรมเนียมการโอนค่ะ PSD2 ถึงแม้ว่าจะประกาศใช้ไปแล้วก็ตาม แต่ยังมีประเทศในสหภาพยุโรปหลายประเทศที่ยังไม่พร้อม หรือยังมีข้อกังขาในการปฎิบัติตามเงื่อนไขใน PSD2 นี้ค่ะ — แต่ที่แน่ๆ ประเทศเนเธอร์แลนด์ สวีเดน และเบลเยี่ยม พร้อมมากกก… และเริ่มนำ PSD2 มาใช้แล้วค่ะ   PSD2 – ความหมาย PSD2 เป็นระเบียบใหม่ในการชำระเงิน ระบบ Payment system น่ะค่ะ…

"PSD2 – ระบบธุรกรรมใหม่ เปลี่ยนวงการธนาคารยุโรป (อธิบายตามความเข้าใจ)"

รีวิวหนังสือ Judas een familiekroniek

หนังสือชื่อ :  Judas een familiekroniek ผู้แต่ง  :  Astrid Holleeder สำนักพิมพ์  :  Lebowski Publishers   ถ้าจะอ่านหนังสือเล่มนี้ให้ “อิน” ต้องจินตนาการถึงคนในครอบครัวของเราน่ะค่ะ ใครสักคนหนึ่งที่เผด็จการ หรือเห็นแก่ตัว — ถ้าอยากได้สิ่งใดแล้วต้องเอาให้ได้ ไม่สนใจคนอื่นว่าจะลำบากอย่างไร — บางครั้้งเราก็ต้องทำให้ทั้งที่ไม่มีความสุข เพราะเกรงใจพ่อแม่เรา พ่อแม่เราขอให้ช่วย หรือเพราะเขาเป็นผู้มีพระคุณเลี้ยงดูเรา ประมาณนี้น่ะค่ะ   ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นกับครอบครัว Holleeder ค่ะ ซึ่ง Astrid น้องสาวคนสุดท้องของครอบครัวเป็นคนเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นค่ะ และตั้งชื่อหนังสือว่า “Judas” — Judas นี่เดิมเป็นชื่อของลูกศิษย์ 1 ใน 13 คนของพระเยซูค่ะ ลูกศิษย์ Judas คนนี้ คือคนทรยศที่ทำให้พระเยซูโดนจับ ถูกนำไปตรึงไม้กางเขนในที่สุดน่ะค่ะ …ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงเป็นเรื่องของ “คนทรยศ” — สำนวนการเขียนคล้ายไดอารี่ หรือบันทึกความทรงจำค่ะ เนื้อเรื่องเป็นเรื่องเล่าในครอบครัว Holleeder ซึ่งไม่เคยมีใครรู้มาก่อนค่ะ จึงทำให้หนังสือเล่มนี้ขายดีมากในเนเธอร์แลนด์ ออกตัวไว้ก่อนนะคะว่า ไม่ได้อ่านภาษาดัตช์เก่งมากถึงขนาดเข้าใจทั้งหมดทุกคำ ดังนั้นจึงมีหลายคำเลยทีเดียวค่ะ ที่เดาๆ บ้าง อ่านข้ามไปบ้าง ดังนั้นอรรถรสในการรีวิวครั้งนี้ คงไม่ดีเท่าเจ้าของภาษา หรือคนที่เก่งด้ตช์มาอ่านนะคะ …แต่อยากเล่าค่ะ เพราะหนังสือเล่มนี้สนุก อ่านเพลินด้วยแรงผลักดันของพลังเผือก คือแบบอยากรู้เรื่องในครอบครัวคนอื่น 555 วัยเด็ก ไม่น่าแปลกใจเท่าไรค่ะ ที่คนที่โตต่อมากลายเป็นอาชญากรระดับประเทศ…

"รีวิวหนังสือ Judas een familiekroniek"

คำแนะนำหญิงไทย เมื่อโดนแฟนทำร้ายในเนเธอร์แลนด์

โดนแฟนทำร้าย : นิยามของความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว คือ การที่คนในครอบครัวกระทำการใดๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ สุขภาพแก่อีกคนในครอบครัว หรือการบังคับ ใช้อำนาจบังคับให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ หรือไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมิได้สมัครใจ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีอยู่ทุกที่แหละค่ะ และจริงๆ แล้วปัญหานี้ใกล้ตัวกว่าที่คิด คนที่เป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว อาจจะคือคนใกล้ตัว เพื่อนคนไทยของเราเอง – เพียงแต่เราไม่รู้ เนื่องจากเป็นเรื่องส่วนตัวค่ะ ซึ่งโดยทั่วไป ผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวที่ต่อเนื่องยาวนาน จะทำให้เหยื่อสูญเสียความมั่นใจ โทษว่าทั้งหมดเป็นความผิดของตัวเอง จึงทำให้ไม่กล้าบอก หรือปรึกษาเรื่องนี้กับใคร บทความนี้ต้องการที่จะเผยแพร่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวให้มากที่สุดค่ะ แต่ไม่ได้มีเจตนาที่จะชี้แนะใดๆ ทั้งสิ้น – การตัดสินใจที่จะอยู่ หรือออกมาจากปัญหา เป็นการตัดสินใจเฉพาะตัวของแต่ละคนค่ะ — เพียงแต่หากวันใดที่คิดจะออกมาจากสถานการณ์ของการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงนี้ อย่างน้อยบทความนี้คือข้อมูลประกอบการตัดสินใจค่ะ Partnergeweld : ความหมาย มากกว่า 60% ของความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากคู่ครองเป็นผู้กระทำต่ออีกฝ่ายค่ะ ทั้งคู่ครองที่ยังอยู่ด้วยกัน หรืออดีตคู่รักที่เลิกกันแล้ว แต่อีกฝ่ายไม่ยอมเลิกง่ายๆ — ความรุนแรงนี้มักจะเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพ เช่นทำร้ายร่างกาย ทางจิตใจ ทางเพศ หรือทางเศรษฐกิจ มีงานวิจัยของเนเธอร์แลนด์ระบุว่า 12% ของประชากรทั้งประเทศได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำรุนแรงในครอบครัวค่ะ เหยื่อในกลุ่มนี้มีทั้งผู้หญิงและผู้ชายค่ะ — ผู้ชายเองก็ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงของหญิงคู่ครองอารมณ์ร้ายเช่นกันค่ะ เหยื่อที่เป็นชายมีประมาณ 7% ในขณะที่เหยื่อที่เป็นหญิงมีอยู่ประมาณ 16% ความรุนแรงในครอบครัวนี้ งานวิจัยพบว่า ไม่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติค่ะ คือเป็นคนดัตช์แท้ๆ หรือเป็นคนไทยย้ายมาอยู่ไม่มีนัยยะแตกต่างกันค่ะ ประเภทของ Partnergeweld 1.…

"คำแนะนำหญิงไทย เมื่อโดนแฟนทำร้ายในเนเธอร์แลนด์"