ภาษาดัตช์

การใช้ geen กับ niet

ทั้ง geen และ niet ต่างใช้ในประโยคปฏิเสธทั้งคู่ค่ะ มีหลักการว่า ประโยคไหนจะใช้ geen ประโยคไหนควรใช้ niet ดังนี้เลยค่ะ 1. Geen 1.1 ใช้แทนที่ article “een” ตอนเป็นประโยคปฏิเสธ เช่น – ik heb een auto. – ik heb geen auto. – jij schrijft een brief. – jij schrijft geen brief. 1.2 ใช้นำหน้าคำนาม เพื่อเป็นประโยคปฏิเสธ กับคำนามที่นับไม่ได้ ซึ่งคำนามเหล่านี้ เป็นคำนามที่ไม่จำเป็นต้องมี article นำหน้า เช่น – ik drink koffie. – ik drink geen koffie. – ik heb kinderen. –  ik heb geen kinderen. * ให้สังเกตว่า “geen” จะวางไว้ข้างหน้าคำนามเสมอ   2. Niet “niet” จะใช้ในประโยคปฏิเสธที่เหลือทั้งหมด…

inburgering examen

ติวหนังสือสอบ KNM(7) – งาน

สวัสดีค่ะ มาติวกันต่อค่ะ คราวนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทำงาน และสิทธิ์ต่างๆ ทีจะได้รับจากการทำงานค่ะ ก่อนอื่นขออธิบายทำความเข้าใจกับคำสองคำนี้ก่อนค่ะ คือ “toeslag” กับ “uitkering” (เป็นสองคำที่ออยเคยสับสน เพราะต่างก็คือเงินที่ได้รับจากรัฐเหมือนกัน) “toeslag” คือชื่อเรียกของเงินที่ได้รับจากกรมสรรพากรค่ะ (Belastingdienst) เช่น เงินช่วยค่าเช่าบ้าน  (huurtoeslag) เงินช่วยค่าใช้จ่ายในการฝากเด็กไว้กับสถานเลี้ยงเด็กเวลาพ่อแม่ต้องไปทำงาน (kinderopvangtoeslag) เป็นต้น “uitkering” คือเงินที่ได้รับเนื่องจากตกงานค่ะ มีแบ่งเป็นประเภทต่างๆ กันไปนะคะ ซึ่งจะมีอธิบายต่อไปในบทความนี้ค่ะ เช่นเคยค่ะ ออยแปลและจดมาจากหนังสือ Welkom in Nederland นะคะ แต่เล่มที่ออยใช้จะเป็นเล่มเก่าแล้ว หน้าปกยังเขียนว่า “kns”อันเป็นชื่อวิชาที่สอบแบบเก่าอยู่ค่ะ ฉบับพิมพ์ใหม่ปี 2015 จึงเปลี่ยนหน้าปก และเปลี่ยนชื่อเป็นการสอบ knm แทน link สั่งซื้อหนังสือค่ะ http://www.bol.com/nl/p/welkom-in-nederland/9200000045780900/ ชนิดของงาน betaald (ทำงานและได้รับเงิน) และ vrijwilligerswerk (งานอาสาสมัคร) Tijdelijk werk (งานชั่วคราว) และ vast werk  (งานประจำ) flexwerker = พนักงานชั่วคราว ทำงานโดยรับเงินเดือนจาก uitzendbureau พนักงานเหล่านี้ ไม่มีโอกาสจะได้เปลี่ยนเป็นพนักงานประจำ eigen bedrijf (มีกิจการเป็นของตัวเอง เจ้าของบริษัท) zwart werk (งานดำ การทำงานโดยไม่จ่ายภาษี) แบ่งชนิดของงาน ตามเวลาในการทำงาน Partime…

inburgering examen

ติวหนังสือสอบ KNM(3) – สังคมดัตช์และเรื่องสุขภาพ

สวัสดีค่ะ มาเรียนเตรียมสอบ KNM กันต่อนะคะ เช่นเคยค่ะ ทั้งหมดนี้ออยจดและแปลมาจากหนังสือ Welkom in Nederland ของสำนักพิมพ์ Uitgeverij Coutinho นะคะ ตามรูปหนังสือด้านล่างนี้ค่ะ สถาบันครอบครัวของคนดัตช์ไม่ค่อยสำคัญ หากเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น ตุรกี แอฟริกา เป็นต้น ส่วนใหญ่คนในครอบครัวจะเจอหน้ากันก็ต่อเมื่อในงานวันเกิดของใครคนใดคนหนึ่ง หรือในวันคริสต์มาส เพื่อนก็สำคัญเช่นเดียวกันกับครอบครัว มักจะทำอะไรๆ ดีๆ ด้วยกัน เพื่อนบ้าน จะช่วยเหลือกันในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หากต้องการพบเจอใครในประเทศเนเธอร์แลนด์ ต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าก่อนเสมอ แม้กระทั่งการไปเยี่ยมคนในครอบครัว ก็ต้องทำการนัดกันล่วงหน้า มาตามนัด และนั่งคุยกัน จิบชา กาแฟ คุกกี้ หรือเค้กนิดหน่อย ด้วยกัน ของขวัญ หารู้จักกันแต่ไม่สนิท จะให้ดอกไม้ หรือของขวัญเล็กๆ เวลาไปเยี่ยม การให้ของขวัญทั่วไปจะให้กันในวันเกิด วันเเต่งงาน สามารถให้ของขวัญแทนคำขอบคุณ เช่น เพื่อนช่วยดูแลลูกให้ เป็นต้น ของขวัญที่ให้กัน มักจะเป็นของราคาไม่แพง ของแพงๆ จะให้กันเฉพาะคนที่สนิทกัน เช่น พ่อแม่ คู่รัก เมื่อคนดัตช์ได้รับของขวัญ ตามธรรมเนียมมักจะแกะเปิดดูทันที ไม่มีการให้ของขวัญแก่คนที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ เช่น ตำรวจ ข้าราชการ หมอประจำบ้าน การทักทาย โดยการจับมือกันเมื่อเจอกันครั้งแรก เป็นการพบปะกันเป็นทางการ หรือการแสดงความยินดี จูบ 3 ครั้ง ใช้กับคนที่สนิทกัน และไม่ได้เจอกันนาน ใช้เฉพาะผู้หญิงกับผู้หญิง…

ยุ่ง เรียนดัตช์

Ik heb een drukke week voor de boeg

เป็นสำนวนค่ะ เเปลว่า “ฉันมีงานยุ่งทั้งอาทิตย์เลย” คือ จริงๆ แค่พูดว่า “Ik heb een drukke week.” ก็น่าจะเข้าใจเเล้ว แต่คนดัตช์มักจะเพิ่มคำว่า “voor de boeg” ต่อท้ายไปด้วย เพื่อเพิ่มสีสันบรรยาย ประมาณภาษาไทยว่า “มีงานท่วมหัว ยุ่งมาก” ประมาณนั้นค่ะ de boeg แปลว่า หัวเรือ ค่ะ (หัวเรือที่มีแม่ย่านางเรืออยู่น่ะค่ะ) voor de boeg แปลตรงตัวว่า หน้าหัวเรือ จึงใช้เป็นสำนวนที่แปลว่า “ล่วงหน้า” (ahead) นั่นเองค่ะ เอารูปอะไรมาลงให้เข้ากับสำนวนนี้ ก็ไม่เหมาะเท่ากับรูปโต๊ะของตัวเองค่ะ (จริงๆ เป็นโต๊ะกินข้าวค่ะ) ตอนนี้ก็รกอย่างที่เห็น 555 FacebookFacebookXXLINELine