บทความ

รีวิวหนังสือ Judas een familiekroniek

หนังสือชื่อ :  Judas een familiekroniek ผู้แต่ง  :  Astrid Holleeder สำนักพิมพ์  :  Lebowski Publishers   ถ้าจะอ่านหนังสือเล่มนี้ให้ “อิน” ต้องจินตนาการถึงคนในครอบครัวของเราน่ะค่ะ ใครสักคนหนึ่งที่เผด็จการ หรือเห็นแก่ตัว — ถ้าอยากได้สิ่งใดแล้วต้องเอาให้ได้ ไม่สนใจคนอื่นว่าจะลำบากอย่างไร — บางครั้้งเราก็ต้องทำให้ทั้งที่ไม่มีความสุข เพราะเกรงใจพ่อแม่เรา พ่อแม่เราขอให้ช่วย หรือเพราะเขาเป็นผู้มีพระคุณเลี้ยงดูเรา ประมาณนี้น่ะค่ะ   ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นกับครอบครัว Holleeder ค่ะ ซึ่ง Astrid น้องสาวคนสุดท้องของครอบครัวเป็นคนเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นค่ะ และตั้งชื่อหนังสือว่า “Judas” — Judas นี่เดิมเป็นชื่อของลูกศิษย์ 1 ใน 13 คนของพระเยซูค่ะ ลูกศิษย์ Judas คนนี้ คือคนทรยศที่ทำให้พระเยซูโดนจับ ถูกนำไปตรึงไม้กางเขนในที่สุดน่ะค่ะ …ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงเป็นเรื่องของ “คนทรยศ” — สำนวนการเขียนคล้ายไดอารี่ หรือบันทึกความทรงจำค่ะ เนื้อเรื่องเป็นเรื่องเล่าในครอบครัว Holleeder ซึ่งไม่เคยมีใครรู้มาก่อนค่ะ จึงทำให้หนังสือเล่มนี้ขายดีมากในเนเธอร์แลนด์ ออกตัวไว้ก่อนนะคะว่า ไม่ได้อ่านภาษาดัตช์เก่งมากถึงขนาดเข้าใจทั้งหมดทุกคำ ดังนั้นจึงมีหลายคำเลยทีเดียวค่ะ ที่เดาๆ บ้าง อ่านข้ามไปบ้าง ดังนั้นอรรถรสในการรีวิวครั้งนี้ คงไม่ดีเท่าเจ้าของภาษา หรือคนที่เก่งด้ตช์มาอ่านนะคะ …แต่อยากเล่าค่ะ เพราะหนังสือเล่มนี้สนุก อ่านเพลินด้วยแรงผลักดันของพลังเผือก คือแบบอยากรู้เรื่องในครอบครัวคนอื่น 555 วัยเด็ก ไม่น่าแปลกใจเท่าไรค่ะ ที่คนที่โตต่อมากลายเป็นอาชญากรระดับประเทศ…

"รีวิวหนังสือ Judas een familiekroniek"

คำแนะนำหญิงไทย เมื่อโดนแฟนทำร้ายในเนเธอร์แลนด์

โดนแฟนทำร้าย : นิยามของความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว คือ การที่คนในครอบครัวกระทำการใดๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ สุขภาพแก่อีกคนในครอบครัว หรือการบังคับ ใช้อำนาจบังคับให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ หรือไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมิได้สมัครใจ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีอยู่ทุกที่แหละค่ะ และจริงๆ แล้วปัญหานี้ใกล้ตัวกว่าที่คิด คนที่เป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว อาจจะคือคนใกล้ตัว เพื่อนคนไทยของเราเอง – เพียงแต่เราไม่รู้ เนื่องจากเป็นเรื่องส่วนตัวค่ะ ซึ่งโดยทั่วไป ผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวที่ต่อเนื่องยาวนาน จะทำให้เหยื่อสูญเสียความมั่นใจ โทษว่าทั้งหมดเป็นความผิดของตัวเอง จึงทำให้ไม่กล้าบอก หรือปรึกษาเรื่องนี้กับใคร บทความนี้ต้องการที่จะเผยแพร่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวให้มากที่สุดค่ะ แต่ไม่ได้มีเจตนาที่จะชี้แนะใดๆ ทั้งสิ้น – การตัดสินใจที่จะอยู่ หรือออกมาจากปัญหา เป็นการตัดสินใจเฉพาะตัวของแต่ละคนค่ะ — เพียงแต่หากวันใดที่คิดจะออกมาจากสถานการณ์ของการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงนี้ อย่างน้อยบทความนี้คือข้อมูลประกอบการตัดสินใจค่ะ Partnergeweld : ความหมาย มากกว่า 60% ของความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากคู่ครองเป็นผู้กระทำต่ออีกฝ่ายค่ะ ทั้งคู่ครองที่ยังอยู่ด้วยกัน หรืออดีตคู่รักที่เลิกกันแล้ว แต่อีกฝ่ายไม่ยอมเลิกง่ายๆ — ความรุนแรงนี้มักจะเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพ เช่นทำร้ายร่างกาย ทางจิตใจ ทางเพศ หรือทางเศรษฐกิจ มีงานวิจัยของเนเธอร์แลนด์ระบุว่า 12% ของประชากรทั้งประเทศได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำรุนแรงในครอบครัวค่ะ เหยื่อในกลุ่มนี้มีทั้งผู้หญิงและผู้ชายค่ะ — ผู้ชายเองก็ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงของหญิงคู่ครองอารมณ์ร้ายเช่นกันค่ะ เหยื่อที่เป็นชายมีประมาณ 7% ในขณะที่เหยื่อที่เป็นหญิงมีอยู่ประมาณ 16% ความรุนแรงในครอบครัวนี้ งานวิจัยพบว่า ไม่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติค่ะ คือเป็นคนดัตช์แท้ๆ หรือเป็นคนไทยย้ายมาอยู่ไม่มีนัยยะแตกต่างกันค่ะ ประเภทของ Partnergeweld 1.…

"คำแนะนำหญิงไทย เมื่อโดนแฟนทำร้ายในเนเธอร์แลนด์"

แบบทดสอบ คุณรู้กฎจราจรสำหรับรถจักรยานดีแค่ไหน ?

เนเธอร์แลนด์เป็นเมืองจักรยาน ของขวัญที่เด็กๆ ดัตช์ได้รับเมื่อพอเริ่มจะเดินได้คล่อง คือจักรยานของเล่น (ลักษณะเหมือนจักรยานเลยค่ะ แต่ปั่นไม่ได้ ให้เด็กเดินคล่อมเดิน เหมือนสมมุติเอาว่านั่นคือจักรยาน) — พอโตมาหน่อยก็ได้รถจักรยานเล็กๆ สำหรับเด็ก แล้วพ่อแม่ก็เริ่มหัดจักรยานให้ลูกๆ ค่ะ แต่เมื่อตอนต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีข่าวรายงานออกมาค่ะว่า สถิติที่เด็กๆ ดัตช์อายุระหว่าง 4-18 ปีได้รับอุบัติเหตุจากการปั่นจักรยานไปโรงเรียนเพิ่มขึ้นค่ะ ครึ่งปีนี้มีเด็กๆ ได้รับอุบัติเหตุไปแล้ว 3,100 ครั้ง เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันนี้ของปี 2014 ที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น 2,600 ครั้งค่ะ สาเหตุก็เนื่องมาจากการจราจรค่ะ โรงเรียนเองก็ขนาดใหญ่ขึ้น การจราจรรอบๆ โรงเรียนก็วุ่นวายขึ้น — รูปแบบของถนนก็มีส่วนค่ะ เพราะถนนบางสายไม่ได้มีเลนสำหรับจักรยานแยกออกมาต่างหาก เช่นถนนในเมืองเก่าๆ อย่างเมือง Enschede, Groningen และ Hilversum จะมีสถิติของจักรยานได้รับอุบัติเหตุมากกว่าเมืองที่ก่อตั้งใหม่อย่าง Almere ซึ่งได้ออกแบบให้มีเลนจักรยานแยกต่างหากกับถนน แต่พฤติกรรมการใช้จักรยานของเด็กเองก็มีส่วนค่ะ จะไปโทษคนขับรถทั้งหมดไม่ได้ เด็กบางคนปั่นจักรยานไป มือก็วุ่นวายกับสมาร์ทโฟน ไม่ได้สนใจดูรถ ซึ่งอันตรายมากค่ะ แต่ก็ไม่ใช่แค่เด็กๆ นะคะที่ประสบการณ์ในการปั่นจักรยานยังน้อย และเสี่ยงแก่การเกิดอุบัติเหตุ เราคนไทยที่ย้ายมาอยู่เนเธอร์แลนด์ก็เช่นกันค่ะ — ที่เมืองไทยไม่มีถนนสำหรับจักรยาน เราไม่ค่อยได้ปั่นจักรยานบนถนนใหญ่ๆ ร่วมกับรถราที่สัญจรไปมา อีกทั้งกฎจราจรไทยกับดัตช์ก็ต่างกัน ป้ายจราจรต่างๆ ก็ต่างกัน ดังนั้นคนไทยเราก็เสี่ยงต่ออุบัติเหตุเช่นกันค่ะ ด้วยเหตุนี้ #Dutchthingy จึงได้แปลและดัดแปลงทำบททดสอบเรื่อง “คุณรู้กฎจราจรสำหรับรถจักรยานดีแค่ไหน? ” มาทดสอบกันสนุกๆ ค่ะ และหวังว่าจะได้ความรู้แฝงไปด้วย — มาค่ะ มาลองทำกันดู   อ้างอิง…

"แบบทดสอบ คุณรู้กฎจราจรสำหรับรถจักรยานดีแค่ไหน ?"

Statiegeld : การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์จัดว่าเป็นประเทศที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีประเทศหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ ประเทศนี้มีมาตรการหลายอย่างในการที่จะกระตุ้นในประชาชนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม หลังจากที่เคยเขียนเล่าระบบการจัดการขยะในครัวเรือนของประเทศเนเธอร์แลนด์ไปแล้วเมื่อปีก่อน บทความตอนนี้ขอนำเสนออีกหนึ่งในการจัดการขยะอย่างแยบยลของประเทศนี้ค่ะ (มีใช้ทั่วยุโรปนะคแต่ขอเล่าเฉพาะของเนเธอร์แลนด์ประเทศเดียว ประเทศอื่นไม่มีประสบการณ์ตรง) และนั่นก็คือระบบ Statiegeld ค่ะ   Statiegeld คืออะไร Statiegeld คือเงินมัดจำที่ได้คืนจากการนำขวดเปล่า เช่น ขวดเบียร์ ขวดน้ำอัดลม ไปคืนร้านค้าค่ะ –คือเวลาที่เราซื้อสินค้าเหล่านี้ เช่น เบียร์ (ขวดแก้ว) หรือซื้อเบียร์ยกลัง (ลังเป็นลังพลาสติกค่ะ) หรือซื้อน้ำอัดลมขวดพลาสติกที่มีขนาดมากกว่า 0.5 ลิตร สินค้าเหล่านี้จะบวกเงินมัดจำ Statiegeld ไว้เรียบร้อยแล้วค่ะ และเราจะได้เงินจำนวนนี้คืนเมือนำขวดเหล่านี้ไปคืนร้านค้า คือระบบที่นี้ถ้าเปรียบไปกับของเมืองไทย ก็คล้ายๆ ขวดน้ำอัดลมที่เป็นขวดแก้วน่ะค่ะ ที่ร้านค้าต้องจ่ายค่ามัดจำลังและขวด ดังนั้นเวลาขาย แม่ค้าจึงขายน้ำอัดลมแบบใส่แก้ว หรือใส่ถุงใส่น้ำแข็งให้ลูกค้า ไม่ได้ขายทั้งขวด — แต่เนื่องจากระบบนี้ไม่ได้มีกับสินค้าพวกขวดเบียร์ หรือขวดน้ำเปล่า น้ำอัดลมขนาดใหญ่ ดังนั้นคนทั่วไปจึงทิ้ง กลายเป็นขยะ และก็มีอาชีพคนเก็บขยะมาคอยเก็บขยะพวกนี้ไปขายอีกต่อหนึ่ง — แต่ที่แตกต่างจากของฮอลแลนด์คือ ระบบมัดจำขวดนี้ของเมืองไทย ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมค่ะ แต่อยู่บนแรงจูงใจของการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ ดังนั้นจึงไม่ได้ลดขยะแต่อย่างใด กลับเป็นการเพิ่มขยะถุงพาสติกอีกต่างหาก ในขณะที่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์มีระบบเงินมัดจำ Statiegeld จึงทำให้คนดัตช์ทั่วไปที่ซื้อสินค้าเหล่านี้ ไม่ทิ้งขวดที่ใช้แล้วลงถังขยะค่ะ หากแต่จะเก็บรวบรวมไว้ เพื่อไปแลกเอาเงินมัดจำคืน — ถึงแม้เงินมัดจำจะเป็นเงินแค่น้อยนิด (เทียบกับค่าครองชีพ) แต่เหมือนเป็นจิตวิทยาน่ะค่ะ ทำให้คนไม่ทิ้งขยะขวดเหล่านั้น แต่จะเก็บไว้แลกเงินคืน   สินค้าอะไรบ้างที่มี Statiegeld ไม่ใช่ขวดทุกใบมี Statiegeld ค่ะ อย่างขวดแก้ว เช่น ขวดไวน์ เวลาซื้อไม่มีเงินมัดจำ…

"Statiegeld : การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เนเธอร์แลนด์"