รักกัน รักกัน…แต่งงานกันนะ (แต่งงานที่ไทย)

เมื่อถึงจุดที่ความรักสุกงอม เราทั้งคู่ก็ตัดสินใจแต่งงานกัน <3

บทความนี้ ไม่ได้จะกล่าวถึงเรื่องราวโรแมนติก รักหวาน แต่อย่างใดค่ะ แต่จะมานำเสนอเรื่องน่าปวดหัว เกี่ยวกับเอกสารทางราชการต่างๆ ที่ต้องเตรียมหากคู่รัก ไทย-ดัตช์ คิดจะแต่งงาน

ปัญหาที่ต้องตอบข้อแรก …. จะแต่งงานจดทะเบียนที่ไหนจ้ะ จะแต่งที่ฮอลแลนด์ หรือจะแต่งที่ไทย

คำตอบของปัญหานี้ จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละครอบครัวค่ะ และอย่าลืมเรื่องการเงินด้วยนะคะ แต่งงานต้องใช้เงินค่ะ ก็เอาให้สมฐานะก็แล้วกันค่ะ

ส่วนตัวเราเเล้ว ถ้าไม่นำเหตุผลทางครอบครัวมาคิด จดทะเบียนสมรสที่ไทย ประหยัดกว่ามากค่ะ ใช้เวลาน้อยกว่าด้วย

ถ้าแต่งงานที่ไทย (ข้อจำกัดของการแต่งงานที่ไทยคือ ต้องเป็นคู่ชาย-หญิง เท่านั่นค่ะ แต่งงานเพศเดียวกันยังไม่ได้รับการรับรองอย่างถูกกฏหมายไทย) ฝ่ายดัตช์จะต้องเตรียมเอกสารดังนี้

1. ใบรับรองคุณสมบัติจากสถานทูต — ไปขอที่สถานทูตได้เลยค่ะ ในใบรับรองของสถานทูตจะต้องระบุดังนี้ค่ะ

1)ชื่อตัว ชื่อสกุล ถือสัญชาติ และถือหนังสือเดินทางประเทศอะไร หมายเลขหนังสือเดินทาง ออกให้ที่ไหน เมื่อไหร่ หมดอายุเมื่อไหร่
2) ชื่อบิดา มารดา
3) ที่อยู่ถาวรในประเทศของตน
4) ผู้ร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนและเหมาะสมที่จะสมรสกับคนไทย ตามกฎหมายไทย
5) อาชีพ รายได้ต่อเดือน/ปี
6) สถานภาพ(โสด, หย่า, หม้าย) ถ้าหย่ า หย่าตามเอกสารใด หม้าย หม้ายตามมรณบัตรใด ออกให้โดยหน่วยงานใด เมื่อไหร่
7) ระบุชื่อบุคคลอ้างอิงที่มีถิ่นที่อยู่หรือภู มิลําเนาเดียวกับผู้ร้อง(ฝ่ายที่เป็นชาวต่ างชาติ) พร้ อมระบุที่อยู่ด้วย
8) หนังสือรับรองต้องระบุวันที่ ที่ออกเอกสาร และประทับตราสถานฑูตนั้น

ข้อ 7) นี้สำคัญนะคะ เพราะออยเคยได้ยิน เจ้าหน้าที่ที่เขตบางรักไม่ยอมจดทะเบียนให้คู่รักที่อุตสาห์มาไกลจากหาดใหญ่ เพราะว่าเอกสารของฝ่ายชายไม่มีข้อ 7) นี้ เนื่องจากฝ่ายชายย้ายมาทำงานเมืองไทยนานแล้ว และไม่มีบ้านที่ต่างแดน แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่ยอมอนุโลมให้ค่ะ เขาบอกว่า หากในอนาคต คู่สมรสเกิดแยกกันอยู่ หรือฝ่ายต่างชาติเกิดเบื่อและทิ้งฝ่ายไทยไป จะติดต่อไม่ได้อีก — การแต่งงานมันทำให้เกิดข้อผูกพันในด้านกฏหมายต่างๆ ตามมาอีกเยอะไงคะ เขาก็เลยกลัวว่าจะติดต่อไม่ได้

เอาไปรับรองโสดที่ได้นี้มาเเปลที่เมืองไทยค่ะ แล้วเอาไปรับรองเอกสารที่สถานกงสุล (ขั้นตอนนี้ ออยแนะนำว่า ถ้าไม่รีบ จ้างเขาดีกว่าค่ะ เราอยู่บ้านเฉยๆ ดีกว่า เอกสารให้เขาส่งมาให้ทางไปรษณีย์ ไม่ต้องไปนั่งรอเป็นวันๆ อยู่  — ออยเคยต้องรอมาแล้ว เข็ดไปเลย) ไปดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอรับรองเอกสาร และใบมอบอำนาจ (ในกรณีที่จ้างให้คนอื่นทำ) มากรอกไว้ก่อนได้ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ http://www.consular.go.th/main/th/services/1303

การแปลเอกสาร และรับรองเอกสารนี้ ออยเคยใช้บริการของน้องวงลี่ หจก. พัฒศพร ทรานสเลชั่น เซอร์วิส ค่ะ น้องเขาบริการดี เรารอรับเอกสารอยู่ที่บ้านได้เลย ค่าบริการที่น้องเขาคิด เป็นราคาที่ถูกกว่าค่าแท็กซี่ไป-กลับ จากบ้านออยไปศูนย์ราชการอีกค่ะ ติดต่อน้องเขาได้ที่ 088-490-5090 ค่ะ (ออยไม่ได้ค่าโฆษณาจากการแนะนำนี้นะคะ แต่เนื่องจากน้องเขาเป็นที่เดียวที่ออยใช้บริการ และเคยเจอน้องเขาตัวจริง และเห็นว่าบริการดี จึงบอกต่อค่ะ)

2. สำเนา passport และตัวจริง

เอกสารที่ต้องเตรียมของฝ่ายไทย

1. บัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน

2. เอกสารการเปลี่ยนชื่อ หากเคยเปลี่ยนชื่อ

3. หากเคยหย่า ก็ต้องนำใบหย่ามาแสดงด้วย

4. นำพยานไปด้วย 2 คนค่ะ — ถ้าเป็นไปได้ อย่าไปหาพยานเอาดาบหน้าเลยค่ะ หรือคิดว่าจะขอให้เจ้าหน้าที่แถวนั่นเป็นพยานให้ เพราะบางทีเจ้าหน้าที่เขาก็ไม่สมัครใจอยากเป็นพยานให้เรา

สถานที่จดทะเบียน แนะนำ “เขตบางรัก” ค่ะ เจ้าหน้าที่น่ารัก และมีประสบการณ์ในการจดทะเบียนเป็นอย่างดี

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน 40 บาทค่ะ

 

1052730_622366814455090_280490787_o