ดัตช์รอบตัว

ธงชาติดัตช์

การขอสัญชาติดัตช์แบบ optie

ตอนนี้เป็นตอนที่ 2 ค่ะ ต่อจากตอนแรกที่เรื่องการขอสัญชาติดัตช์แบบ Naturalisatie  ตอนนี้เป็นตอนที่แปลยากมากค่ะ เพราะเป็นภาษากฎหมาย และไม่มีประสบการณ์ตรง รู้คร่าวๆ แค่ว่า เราคนไทยมีสิทธิ์ที่จะขอสัญชาติแบบนี้ และเป็นการขอสัญชาติที่ค่าธรรมเนียมถูกสุด ง่ายสุด พิจารณาเร็วสุด — รู้แค่นี้เลยค่ะ — ที่เหลืออ่าน และต้องถามพี่แป๋ว เยาวลักษณ์ วงศ์สุวรรณ ล่ามและนักแปลแห่ง Thai voor Taal ต้องขอบคุณพี่แป๋วมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนค่ะว่า การจะมีสัญชาติดัตช์ได้นั้น เกิดขึ้นได้ 4 ทางค่ะคือ 1. มีสัญชาติดัตช์โดยกำเนิด (Nederlander door geboorte of erkenning) — คือแบบพ่อหรือแม่เป็นคนดัตช์น่ะค่ะ ลูกก็ได้สัญชาติดัตช์ไปด้วย โดยไม่สนใจว่าจะเกิดที่ประเทศใดก็ตามค่ะ ถ้าพ่อหรือแม่มีสัญชาติดัตช์ ลูกก็ได้สัญชาติดัตช์ไปด้วยค่ะ 2. โดยการขอสัญชาติดัตช์ (Naturalisatie) — อันนี้คือที่บทความตอนที่แล้วได้อธิบายไปแล้วค่ะ เป็นการขอสัญชาติที่เราคนไทยที่อาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์มีสิทธิที่จะขอได้ค่ะ 3. โดย Optie — วิธีการขอแบบนี้ เหมาะสำหรับคนต่างชาติที่อาศัยอยู่เนเธอร์แลนด์นานๆ แล้วน่ะค่ะ — ซึ่งบทความตอนนี้จะเขียนถึงเรื่องนี้ค่ะ 4. การถือสัญชาติดัตช์โดยอาศัยอยู่ในหมู่เกาะที่รัฐอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ อันได้แก่ เกาะ Aruba, Curaçao, Sint Maarten, Bonaire, Sint Eustatius และเกาะ Saba ค่ะ…

ทำอาหารดัตช์

มาทำ Stamppot กันเถอะ

วันนี้ขอโชว์การทำ stamppot ค่ะ ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวดัตช์ stamppot นี่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามผักที่ใส่ลงไปนะคะ วันนี้ที่จะมาโชว์ ผักที่ใส่ลงไปคือ แครอท ดังนั้นจึงจะเรียก stamppot ชามนี้ว่า Hutspot ทั้งหมดต่อไปนี้ ถ่ายทำในคอนโดที่เมืองไทยค่ะ ในครัวกากๆ ของออยเอง เออ…อย่าเรียกว่าครัวเลย อุปกรณ์ครัว ก็มีแค่ซิงค์ล้างจาน หม้อหุ้งข้าวไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า แค่นี้ แต่ทำ stamppot ให้อร่อยได้ค่ะ เรียกว่าใครที่่ต้มมาม่าเป็น ก็ทำ stamppot ได้แหละน่า เพราะมันง่ายยยย..มาก เริ่มด้วยจัดหาวัตถุดิบก่อนค่ะ อันประกอบไปด้วย มันฝรั่ง เอาสัก 4 หัวค่ะ กินกันสองคนกะแฟน (ฝรั่ง) แครอท มีอยู่แค่อันเดียวในตู้เย็น หอมหัวใหญ่ สักครึ่งหัวค่ะ นม เนยแข็ง เกลือ (ไม่มีในรูป ลืมถ่ายค่ะ) Rookworst หรือ ไส้กรอกรมควัน ในรูปนั้น หอบหิ้วมาจากฮอลแลนด์ค่ะ แต่เราสามารถหาซื้อได้จากห้างในบ้านเรานะคะ (แต่ไม่ใช่ยี่ห้อนี่)   มาเริ่มทำกันเลยค่ะ เริ่มก็ปอกมันฝรั่ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่น้ำให้ท่วม เเละเผื่อที่ให้ใส่แครอทกันหอมใหญ่ไปในตอนหลังด้วยนะคะ มันฝรั่งปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่น้ำให้ท่วม แล้วนำไปต้ม ระหว่างรอมันฝรั่งสุก ก็หั่นแครอทเป็นชิ้นเล็กๆ พองามค่ะ หั่นหอมใหญ่ด้วย ที่ฮอลแลนด์ของพวกนี้ จะมีขาย แบบที่หั่นมาให้สำเร็จรูปแล้ว ราคาถุงละ 1 ยูโร…

ไข่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง เนเธอร์แลนด์

สรุปข่าวไข่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงที่เนเธอร์แลนด์

ไข่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงชื่อ “ฟิโปรนิล (fipronil)” เป็นข่าวใหญ่ที่เนเธอร์แลนด์ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาค่ะ Dutchthingy ติดตามข่าวมาโดยตลอด และได้นำเสนอเล่าข่าวในเวอร์ชั่นภาษาไทยไว้ในเฟสบุ๊ก Dutchthingy ค่ะ — และตอนนี้ สถานการณ์ที่เนเธอร์แลนด์เริ่มคลี่คลายแล้วค่ะ แต่ที่ต่างประเทศเพิ่งกลายเป็นประเด็นตื่นตระหนกกัน ดังนั้นจึงคิดว่า ควรจะทำเป็นสรุปข่าว เพื่อที่ผู้อ่านชาวไทยจะได้ทราบสถานการณ์จริงตั้งแต่เริ่มค่ะ และหวังว่าสถานการณ์และการจัดการกับปัญหาของทางการเนเธอร์แลนด์จะเป็นบทเรียนให้เมืองไทยได้ศึกษาต่อการจัดการปัญหาเรื่องความปลอดภัยทางด้านอาหารด้วยค่ะ เริ่มต้นด้วยบริษัทรับกำจัดไรไก่ ชื่อ “Chickfriend” ค่ะ บริษัทนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Barneveld จังหวัด Gelderland เจ้าของบริษัทชื่อนาย Eigenaren Martin van de B. (อายุ 31 ปี) และนาย Mathijs IJ. (อายุ 24 ปี) บริษัทได้เปิดตัวเทคนิคที่รับประกันว่ากำจัดไรไก่ได้ดีและยาวนานกว่าคู่แข่ง ในงานแสดงสินค้าทางการเกษตรเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาค่ะ โดยเทคนิคนี้รับประกันว่า ฟาร์มจะปลอดไรไก่ได้ยาวนานถึง 6 เดือน ในขณะที่บริษัทคู่แข่งอื่นๆ รับประกันได้แค่ 3 เดือนค่ะ เมื่อโฆษณาว่าดีเช่นนี้ จึงทำให้มีลูกค้า เจ้าของฟาร์มไก่ไข่มาใช้บริการมากมายค่ะ –ยาที่บริษัท Chickfriend ใช้ในการกำจัดไรไก่ มีชื่อทางการค้าว่า ‘Dega-16’ และเมื่อมีคนสอบถามว่า ในตัวยานี้ประกอบด้วยสารเคมีอะไร ทั้งคู่ก็จะไม่บอกค่ะ เป็นความลับของบริษัท บอกเพียงแค่ว่า ยาตัวนี้ถูกต้องตามกฎหมาย กิจการของบริษัท Chickfriend ประสบความสำเร็จมาก มีลูกค้าทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ รวมถึงเบลเยี่ยมด้วยค่ะ — มีข่าวลือมาบ้างเหมือนกันว่า บริษัทนี้ใช้ยาต้องห้ามที่ทางการดัตช์ห้ามไม่ให้ใช้กับปศุสัตว์ — แต่ไม่มีหลักฐาน รวมถึงลูกค้าก็คิดว่า…

Statiegeld การจัดการสิ่งแวดล้อมเนเธอร์แลนด์

Statiegeld : การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์จัดว่าเป็นประเทศที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีประเทศหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ ประเทศนี้มีมาตรการหลายอย่างในการที่จะกระตุ้นในประชาชนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม หลังจากที่เคยเขียนเล่าระบบการจัดการขยะในครัวเรือนของประเทศเนเธอร์แลนด์ไปแล้วเมื่อปีก่อน บทความตอนนี้ขอนำเสนออีกหนึ่งในการจัดการขยะอย่างแยบยลของประเทศนี้ค่ะ (มีใช้ทั่วยุโรปนะคแต่ขอเล่าเฉพาะของเนเธอร์แลนด์ประเทศเดียว ประเทศอื่นไม่มีประสบการณ์ตรง) และนั่นก็คือระบบ Statiegeld ค่ะ   Statiegeld คืออะไร Statiegeld คือเงินมัดจำที่ได้คืนจากการนำขวดเปล่า เช่น ขวดเบียร์ ขวดน้ำอัดลม ไปคืนร้านค้าค่ะ –คือเวลาที่เราซื้อสินค้าเหล่านี้ เช่น เบียร์ (ขวดแก้ว) หรือซื้อเบียร์ยกลัง (ลังเป็นลังพลาสติกค่ะ) หรือซื้อน้ำอัดลมขวดพลาสติกที่มีขนาดมากกว่า 0.5 ลิตร สินค้าเหล่านี้จะบวกเงินมัดจำ Statiegeld ไว้เรียบร้อยแล้วค่ะ และเราจะได้เงินจำนวนนี้คืนเมือนำขวดเหล่านี้ไปคืนร้านค้า คือระบบที่นี้ถ้าเปรียบไปกับของเมืองไทย ก็คล้ายๆ ขวดน้ำอัดลมที่เป็นขวดแก้วน่ะค่ะ ที่ร้านค้าต้องจ่ายค่ามัดจำลังและขวด ดังนั้นเวลาขาย แม่ค้าจึงขายน้ำอัดลมแบบใส่แก้ว หรือใส่ถุงใส่น้ำแข็งให้ลูกค้า ไม่ได้ขายทั้งขวด — แต่เนื่องจากระบบนี้ไม่ได้มีกับสินค้าพวกขวดเบียร์ หรือขวดน้ำเปล่า น้ำอัดลมขนาดใหญ่ ดังนั้นคนทั่วไปจึงทิ้ง กลายเป็นขยะ และก็มีอาชีพคนเก็บขยะมาคอยเก็บขยะพวกนี้ไปขายอีกต่อหนึ่ง — แต่ที่แตกต่างจากของฮอลแลนด์คือ ระบบมัดจำขวดนี้ของเมืองไทย ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมค่ะ แต่อยู่บนแรงจูงใจของการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ ดังนั้นจึงไม่ได้ลดขยะแต่อย่างใด กลับเป็นการเพิ่มขยะถุงพาสติกอีกต่างหาก ในขณะที่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์มีระบบเงินมัดจำ Statiegeld จึงทำให้คนดัตช์ทั่วไปที่ซื้อสินค้าเหล่านี้ ไม่ทิ้งขวดที่ใช้แล้วลงถังขยะค่ะ หากแต่จะเก็บรวบรวมไว้ เพื่อไปแลกเอาเงินมัดจำคืน — ถึงแม้เงินมัดจำจะเป็นเงินแค่น้อยนิด (เทียบกับค่าครองชีพ) แต่เหมือนเป็นจิตวิทยาน่ะค่ะ ทำให้คนไม่ทิ้งขยะขวดเหล่านั้น แต่จะเก็บไว้แลกเงินคืน   สินค้าอะไรบ้างที่มี Statiegeld ไม่ใช่ขวดทุกใบมี Statiegeld ค่ะ อย่างขวดแก้ว เช่น ขวดไวน์ เวลาซื้อไม่มีเงินมัดจำ…