ติวหนังสือสอบ KNM(8) – ประวัติศาสตร์ประเทศเธอร์แลนด์

ใกล้จบเล่มเเล้วค่ะ เหลืออีกแค่ตอนหน้าอีกตอนเดียว…

ออยแปลและจดมาจากหนังสือ Welkom in Nederland นะคะ แต่เล่มที่ออยใช้จะเป็นเล่มเก่าแล้ว หน้าปกยังเขียนว่า “kns”อันเป็นชื่อวิชาที่สอบแบบเก่าอยู่ค่ะ ฉบับพิมพ์ใหม่ปี 2015 จึงเปลี่ยนหน้าปก และเปลี่ยนชื่อเป็นการสอบ knm แทน

link สั่งซื้อหนังสือค่ะ http://www.bol.com/nl/p/welkom-in-nederland/9200000045780900/

IMG_1270

  • คศ. 500 – 1500  เรียก middeleeuwen ในแต่ละพื้นที่มีผู้นำของตัวเอง –> Nederlanden แปลว่า lage landen ผู้คนสมัยนั้นทำอาชีพเกษตร มีชีวิตลำบาก อายุขัยไม่ยืน โดยเฉลี่ยไม่เกิน 40 ปี
  • คศ. 1568 – 1648 สงคราม 80 ปี กับสเปน
  • ในปี 1974 สเปนล้อมเมือง Leiden ทำให้ผู้คนในเมืองตายเพราะอดอาหาร สเปนยกทัพออกไปวันที่ 3 ตุลาคม 1574 จึงเป็นวันเฉลิมฉลอง จัดทุกปี ในวันนั้นผู้คนในเมืองจะฉลองด้วยการกินปลาฮาริ่ง (จัดที่เมือง Leiden ที่เดียว)
  • เจ้าชาย Willem van Oranje (Oranje เป็นชื่อเมือง ซึ่งอยู่ในประเทศฝรั่งเศส) เป็นโปรแตสเเตนท์ ปกครองเนเธอร์แลนด์ในเวลานั้น ต้องการที่จะเป็นเอกราชจากสเปน ซึ่งนับถือคาทอลิก –> ปี 1584 ถูกยิงตายที่บ้าน ที่เมือง Delft –> การตายของเขาจุดประกายความต้องการเป็นเอกราชให้เพิ่มขึ้น ถือได้ว่า Wilem van Oranje เป็นบิดาของประเทศเนเธอร์แลนด์
  • 1588 เนเธอร์แลนด์เป็น republiek ไม่ขึ้นกับสเปน เริ่มต้นมี 7 จังหวัด (นี่คือเหตุผลที่ชื่อประเทศเนเธอร์แลนด์ ในภาษาอังกฤษคือ The Netherlands มี ‘s’ ข้างหลังเหมือนประเทศสหรัฐอเมริกา The United States of America เพราะประเทศเคยเป็นสาธารณรัฐมาก่อน ก่อนจะเปลี่ยนเป็นราชอาณาจักร ภายหลังค่ะ)
  • Wilhelmus = ชื่อเพลงชาติดัตช์
  • คริสต์ศตวรรษที่ 17 (คศ. 1600 – 1700) = gouden eeuw ประเทศเนเธอร์แลนด์มั่งคั่ง ค้าขายร่ำรวย สินค้าที่ขายคือ ทอง กับ เครื่องเทศ (specerijen) ค้าทาส มีบริษัท VOC : de Verenigde Oos-Indische Compagnie สำหรับค้าขายในภูมิภาคเอเชีย ส่วนบริษัท WIC : West-Indische Compagnie ค้าขายในทวีปแอฟริกา และอเมริกา
  • gracht = คลองที่อยู่ในเมือง ขุดไว้เพื่อระบายน้ำและขนส่ง มีบ้านหรือตึกที่อยู่ข้างคลอง เรียกว่า grachtenhuizen เดิมไว้เป็นโกดังเก็บสินค้า แต่ปัจจุบันกลายเป็นอาคารที่พักอาศัย สามารถพบเห็นได้ทั่วไปใน Amsterdam
  • grachtenhuizen = pakhuizen
  • เพราะรวย เลยมีความสนใจในศิลปะ นักวาดภาพที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เช่น Rembrandt van Rijn –> ตอนนี้ภาพวาดของ Rembrandt ที่มีชื่อเสียงที่สุด ชื่อDe Nachtwacht ปัจจุบันถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ Rijksmeseum 
  • 1600 เนเธอร์แลนด์เริ่มสร้างแผ่นดิน คือ จังหวัด Flevoland ขึ้น จังหวัดนี้ทั้งจังหวัด เคยเป็นน้ำมาก่อน
  • 1814 ประเทศเนเธอร์แลนด์เปลี่ยนการปกครองเป็นราชอาณาจักร มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Koninkrijk)
  • Willem de Eerste เป็นกษัตริย์องค์แรกของประเทศ (คนละคนกับ Willem van Oranje นะคะ)
  • grondwet = รัฐธรรมนูญ (Constitutie) เขียนขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1815
  • 1848 เขียน grondwet ใหม่ ให้เป็นประชาธิปไตย (เบลเยี่ยมเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยก่อนฮอลแลนด์ค่ะ ในปี 1830)
  • หลัง 1850 ผู้คนทำงานในโรงงาน
  • เมื่อก่อนคนรวยเท่านั้นที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง –> ลักษณะงานในโรงงาน ทำให้ทุกคนเท่าเทียมกัน –> ต่อมาปี 1917 เพิ่มให้เฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง –> ปี 1919 ผู้หญิงก็มีสิทธิ์เลือกตั้งเช่นกัน
  • ปี 1871 นักศึกษาแพทย์หญิงคนแรก ชื่อ Aletta Jacobs
  • 1874 ออกกฏหมายว่า เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ไม่ให้ทำงาน
  • ปี 1900 ออกกฏหมาย เด็กอายุ 6 – 12 ปี ต้องไปโรงเรียน (leerplicht)
  • 1914 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 — เนเธอร์แลนด์ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง เยอรมันแพ้สงคราม ปี 1930 เศรษฐกิจตกต่ำ ฮิตเลอร์ (Hitler) ขึ้นมีอำนาจในเยอรมัน
  • ปี 1940 สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่ม — เพียง 5 วัน เนเธอร์แลนด์โดนเยอรมันยึด เมือง Rotterdam โดนบอม บ์
  • Koningin Wilhelmina (ย่าของอดีตราชินี Beatrix) ต้องลี้ภัยไปอยู่อังกฤษ
  • ในสมัยนั้น คนยิวในเนเธอร์แลนด์ เวลาไปไหนมาไหนต้องติดเครื่องหมาย Jodenster ที่เสื้อให้มองเห็นชัด
  • onderduiken –> ที่ซ่อนของคนยิว ให้พ้นจากการถูกจับ
  • คนยิว 6 ล้านคน ถูกฆ่าในสงครามโลกครั้งที่ 2
  • Anne Frank (13 ปี) เขียนหนังสือไดอารี่ชื่อ Het Achterhuis ในระหว่างที่ซ่อนตัวใน Amsterdam 2 ปี
  • 1944 – Honger winter (คนดัตช์ต้องขุดหัวทิวลิปมากิน ไม่มีอาหาร เนื่องจากเยอรมันปิดล้อม)
  • het verzet = กลุ่มคนที่ต่อสู้อย่างลับๆ กับเยอรมัน (คล้ายๆ เสรีชน)
  • อเมริกา แคนาดา อังกฤษ รัสเซีย ร่วมมือกันสู้กับเยอรมัน จนปี 1945 สงครามจบ
  • วันที่ 5 mei 1945 เนเธอร์แลนด์เป็นเอกราชอีกครั้ง
  • วันที่ 4 mei ของทุกปี คือวัน dodenherdenking เวลา 20.00 น. ของวันนั้น จะมีการสงบนิ่งไว้อาลัย 2 นาที เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในสงคราม ประมุขของประเทศจะมาร่วมไว้อาลัยที่ Dam in Amsterdam ซึ่งเป็น Nationaal Monument สำหรับสงครามโลกครั้งที่สอง
  • วันที่ 5 mei ของทุกปี เป็นวันเฉลิมฉลองที่เนเธอร์แลนด์เป็นอิสระ
  • 1975 ประเทศสุรีนัม เป็นเอกราช
  • 1948 ประมุขของประเทศคือ พระราชินี Juliana (ยายของกษัตริย์ Willem-Alexander กษัตริย์องค์ปัจจุบัน) ในขณะนั้น ประเทศเนเธอร์แลนด์ยังยากจนอยู่
  • 1949 เนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกนาโต้ (NAVO) ร่วมกับชาติยุโรป อเมริกา และเเคนาดา
  • หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศอินโดนีเซียต้องการเป็นเอกราช ปี 1949 เกิดสงครามต่อต้านการเป็นเอกราชของอินโดนีเซีย แต่อีก 4 ปีต่อมา อินโดนีเซียก็เป็นอิสระ ไม่เป็นเมืองขึ้นของเนเธอร์แลนด์อีกต่อไป
  • ปี 1950 ประเทศเนเธอร์แลนด์กลับมาอยู่ดีกินดีอีกครั้ง
  • นายกรัฐมนตรี Willem Drees ออกกฏหมายเกี่ยวกับสวัสิการสังคม de AOW
  • 1953 เกิดพายุพัดถล่มจังหวัด Zeeland, Zuid-Holland และ Noord-Brabant มีคนตายมากกว่า 1800 คน จึงทำให้เกิดโครงการชื่อ Deltaplan ขึ้น เพื่อป้องกันไม่ใช้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก โครงการนี้ใช้เวลาก่อสร้าง 40 ปี จึงแล้วเสร็จ
  • emigreren = คนที่อพยพออกจากฮอลแลนด์ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงปี 1950 – 1960 เนื่องจากในประเทศ มีคนตกงานมาก (werkloosheid) ในเมืองก็ไม่มีบ้านอยู่ (woningnood)
  • 1960 – 1970 ผู้คนมีอิสระมากขึ้น มีเสรีภาพตามกฏหมาย
  • 1970 เศรษฐกิจดี นำเข้าแรงงานคนจากประเทศตุรกี มารอคโค มาทำงาน เรียกคนเหล่านี้ว่า gastarbeiders
  • allochtonen = ชาวต่างชาติ
  • ปี 2002 เนเธอร์แลนด์ร่วมกลุ่ม EU
  • ปี 2003 เนเธอร์แลนด์ส่งทหารไปช่วยอเมริกาในการรบกับอิรัก
  • ปี 2007 มีการออกกฏหมายให้ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศเนเธอร์แลนด์ต้องสอบ inburgering
  • กษัตริย์ดัตช์ปกครอง (เป็นประมุข) ของ 4 ประเทศ คือ เนเธอร์แลนด์, Aruba, Curacao และ Sint-Maarten (เหล่านี้เป็นเกาะใน Midden – Amerika)
  • de Nederlandse Antillen = กลุ่มของเกาะอยู่ใกล้ๆ กับประเทศสุรีนัม ในอเมริกาใต้

One thought on “ติวหนังสือสอบ KNM(8) – ประวัติศาสตร์ประเทศเธอร์แลนด์

Comments are closed.