คำแนะนำหญิงไทย เมื่อโดนแฟนทำร้ายในเนเธอร์แลนด์

โดนแฟนทำร้าย : นิยามของความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว คือ การที่คนในครอบครัวกระทำการใดๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ สุขภาพแก่อีกคนในครอบครัว หรือการบังคับ ใช้อำนาจบังคับให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ หรือไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมิได้สมัครใจ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมีอยู่ทุกที่แหละค่ะ และจริงๆ แล้วปัญหานี้ใกล้ตัวกว่าที่คิด คนที่เป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว อาจจะคือคนใกล้ตัว เพื่อนคนไทยของเราเอง – เพียงแต่เราไม่รู้ เนื่องจากเป็นเรื่องส่วนตัวค่ะ ซึ่งโดยทั่วไป ผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวที่ต่อเนื่องยาวนาน จะทำให้เหยื่อสูญเสียความมั่นใจ โทษว่าทั้งหมดเป็นความผิดของตัวเอง จึงทำให้ไม่กล้าบอก หรือปรึกษาเรื่องนี้กับใคร บทความนี้ต้องการที่จะเผยแพร่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวให้มากที่สุดค่ะ แต่ไม่ได้มีเจตนาที่จะชี้แนะใดๆ ทั้งสิ้น – การตัดสินใจที่จะอยู่ หรือออกมาจากปัญหา เป็นการตัดสินใจเฉพาะตัวของแต่ละคนค่ะ — เพียงแต่หากวันใดที่คิดจะออกมาจากสถานการณ์ของการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงนี้ อย่างน้อยบทความนี้คือข้อมูลประกอบการตัดสินใจค่ะ Partnergeweld : ความหมาย มากกว่า 60% ของความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากคู่ครองเป็นผู้กระทำต่ออีกฝ่ายค่ะ ทั้งคู่ครองที่ยังอยู่ด้วยกัน หรืออดีตคู่รักที่เลิกกันแล้ว แต่อีกฝ่ายไม่ยอมเลิกง่ายๆ — ความรุนแรงนี้มักจะเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพ เช่นทำร้ายร่างกาย ทางจิตใจ ทางเพศ หรือทางเศรษฐกิจ มีงานวิจัยของเนเธอร์แลนด์ระบุว่า 12% ของประชากรทั้งประเทศได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำรุนแรงในครอบครัวค่ะ เหยื่อในกลุ่มนี้มีทั้งผู้หญิงและผู้ชายค่ะ — ผู้ชายเองก็ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงของหญิงคู่ครองอารมณ์ร้ายเช่นกันค่ะ เหยื่อที่เป็นชายมีประมาณ 7% ในขณะที่เหยื่อที่เป็นหญิงมีอยู่ประมาณ 16% ความรุนแรงในครอบครัวนี้ งานวิจัยพบว่า ไม่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติค่ะ คือเป็นคนดัตช์แท้ๆ หรือเป็นคนไทยย้ายมาอยู่ไม่มีนัยยะแตกต่างกันค่ะ ประเภทของ Partnergeweld 1.…

"คำแนะนำหญิงไทย เมื่อโดนแฟนทำร้ายในเนเธอร์แลนด์"

Statiegeld : การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์จัดว่าเป็นประเทศที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีประเทศหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ ประเทศนี้มีมาตรการหลายอย่างในการที่จะกระตุ้นในประชาชนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม หลังจากที่เคยเขียนเล่าระบบการจัดการขยะในครัวเรือนของประเทศเนเธอร์แลนด์ไปแล้วเมื่อปีก่อน บทความตอนนี้ขอนำเสนออีกหนึ่งในการจัดการขยะอย่างแยบยลของประเทศนี้ค่ะ (มีใช้ทั่วยุโรปนะคแต่ขอเล่าเฉพาะของเนเธอร์แลนด์ประเทศเดียว ประเทศอื่นไม่มีประสบการณ์ตรง) และนั่นก็คือระบบ Statiegeld ค่ะ   Statiegeld คืออะไร Statiegeld คือเงินมัดจำที่ได้คืนจากการนำขวดเปล่า เช่น ขวดเบียร์ ขวดน้ำอัดลม ไปคืนร้านค้าค่ะ –คือเวลาที่เราซื้อสินค้าเหล่านี้ เช่น เบียร์ (ขวดแก้ว) หรือซื้อเบียร์ยกลัง (ลังเป็นลังพลาสติกค่ะ) หรือซื้อน้ำอัดลมขวดพลาสติกที่มีขนาดมากกว่า 0.5 ลิตร สินค้าเหล่านี้จะบวกเงินมัดจำ Statiegeld ไว้เรียบร้อยแล้วค่ะ และเราจะได้เงินจำนวนนี้คืนเมือนำขวดเหล่านี้ไปคืนร้านค้า คือระบบที่นี้ถ้าเปรียบไปกับของเมืองไทย ก็คล้ายๆ ขวดน้ำอัดลมที่เป็นขวดแก้วน่ะค่ะ ที่ร้านค้าต้องจ่ายค่ามัดจำลังและขวด ดังนั้นเวลาขาย แม่ค้าจึงขายน้ำอัดลมแบบใส่แก้ว หรือใส่ถุงใส่น้ำแข็งให้ลูกค้า ไม่ได้ขายทั้งขวด — แต่เนื่องจากระบบนี้ไม่ได้มีกับสินค้าพวกขวดเบียร์ หรือขวดน้ำเปล่า น้ำอัดลมขนาดใหญ่ ดังนั้นคนทั่วไปจึงทิ้ง กลายเป็นขยะ และก็มีอาชีพคนเก็บขยะมาคอยเก็บขยะพวกนี้ไปขายอีกต่อหนึ่ง — แต่ที่แตกต่างจากของฮอลแลนด์คือ ระบบมัดจำขวดนี้ของเมืองไทย ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมค่ะ แต่อยู่บนแรงจูงใจของการลดต้นทุนของผู้ประกอบการ ดังนั้นจึงไม่ได้ลดขยะแต่อย่างใด กลับเป็นการเพิ่มขยะถุงพาสติกอีกต่างหาก ในขณะที่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์มีระบบเงินมัดจำ Statiegeld จึงทำให้คนดัตช์ทั่วไปที่ซื้อสินค้าเหล่านี้ ไม่ทิ้งขวดที่ใช้แล้วลงถังขยะค่ะ หากแต่จะเก็บรวบรวมไว้ เพื่อไปแลกเอาเงินมัดจำคืน — ถึงแม้เงินมัดจำจะเป็นเงินแค่น้อยนิด (เทียบกับค่าครองชีพ) แต่เหมือนเป็นจิตวิทยาน่ะค่ะ ทำให้คนไม่ทิ้งขยะขวดเหล่านั้น แต่จะเก็บไว้แลกเงินคืน   สินค้าอะไรบ้างที่มี Statiegeld ไม่ใช่ขวดทุกใบมี Statiegeld ค่ะ อย่างขวดแก้ว เช่น ขวดไวน์ เวลาซื้อไม่มีเงินมัดจำ…

"Statiegeld : การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เนเธอร์แลนด์"

สรุปข่าวไข่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงที่เนเธอร์แลนด์

ไข่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงชื่อ “ฟิโปรนิล (fipronil)” เป็นข่าวใหญ่ที่เนเธอร์แลนด์ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาค่ะ Dutchthingy ติดตามข่าวมาโดยตลอด และได้นำเสนอเล่าข่าวในเวอร์ชั่นภาษาไทยไว้ในเฟสบุ๊ก Dutchthingy ค่ะ — และตอนนี้ สถานการณ์ที่เนเธอร์แลนด์เริ่มคลี่คลายแล้วค่ะ แต่ที่ต่างประเทศเพิ่งกลายเป็นประเด็นตื่นตระหนกกัน ดังนั้นจึงคิดว่า ควรจะทำเป็นสรุปข่าว เพื่อที่ผู้อ่านชาวไทยจะได้ทราบสถานการณ์จริงตั้งแต่เริ่มค่ะ และหวังว่าสถานการณ์และการจัดการกับปัญหาของทางการเนเธอร์แลนด์จะเป็นบทเรียนให้เมืองไทยได้ศึกษาต่อการจัดการปัญหาเรื่องความปลอดภัยทางด้านอาหารด้วยค่ะ เริ่มต้นด้วยบริษัทรับกำจัดไรไก่ ชื่อ “Chickfriend” ค่ะ บริษัทนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Barneveld จังหวัด Gelderland เจ้าของบริษัทชื่อนาย Eigenaren Martin van de B. (อายุ 31 ปี) และนาย Mathijs IJ. (อายุ 24 ปี) บริษัทได้เปิดตัวเทคนิคที่รับประกันว่ากำจัดไรไก่ได้ดีและยาวนานกว่าคู่แข่ง ในงานแสดงสินค้าทางการเกษตรเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาค่ะ โดยเทคนิคนี้รับประกันว่า ฟาร์มจะปลอดไรไก่ได้ยาวนานถึง 6 เดือน ในขณะที่บริษัทคู่แข่งอื่นๆ รับประกันได้แค่ 3 เดือนค่ะ เมื่อโฆษณาว่าดีเช่นนี้ จึงทำให้มีลูกค้า เจ้าของฟาร์มไก่ไข่มาใช้บริการมากมายค่ะ –ยาที่บริษัท Chickfriend ใช้ในการกำจัดไรไก่ มีชื่อทางการค้าว่า ‘Dega-16’ และเมื่อมีคนสอบถามว่า ในตัวยานี้ประกอบด้วยสารเคมีอะไร ทั้งคู่ก็จะไม่บอกค่ะ เป็นความลับของบริษัท บอกเพียงแค่ว่า ยาตัวนี้ถูกต้องตามกฎหมาย กิจการของบริษัท Chickfriend ประสบความสำเร็จมาก มีลูกค้าทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ รวมถึงเบลเยี่ยมด้วยค่ะ — มีข่าวลือมาบ้างเหมือนกันว่า บริษัทนี้ใช้ยาต้องห้ามที่ทางการดัตช์ห้ามไม่ให้ใช้กับปศุสัตว์ — แต่ไม่มีหลักฐาน รวมถึงลูกค้าก็คิดว่า…

"สรุปข่าวไข่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงที่เนเธอร์แลนด์"

รหัสสีเตือนภัยพิบัติของเนเธอร์แลนด์

กรมอุตุนิยมวิทยาดัตช์ (ชื่อเต็มคือ Koninklijk Nederlands Meteorologisch Instituut หรือย่อว่า KNMI) เนี่ยเขาจะมีการเตือนสภาพอากาศ และอุบัติภัย ภัยธรรมชาติต่างๆ ออกเป็นรหัสสีค่ะ (อันนี้ชาติอื่นก็อาจจะมีเหมือนกันนะคะ แต่เมืองไทยไม่มีแบบนี้ เลยขอเอามาเล่าสักหน่อยล่ะกัน) รหัสสี (Kleurcodes) มีทั้งหมด 4 สีค่ะ คือ สีเขียว สีเหลือง สีส้ม และสีแดง 1. รหัสสีเขียว (Code groen) = สภาพอากาศปกติ ไม่มีอะไรเป็นอันตรายที่ต้องระวังเป็นพิเศษ 2. รหัสสีเหลือง (Code geel) = ต้องระวัง อาจจะมีความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่เป็นอันตราย เช่น ฝนตกหนัก หิมะตกทำให้ถนนลื่น เป็นต้น รหัสสีเหลืองจะประกาศออกมาล่วงหน้า 48 ชั่วโมงก่อนที่ปรากฏการณ์สภาพอากาศที่เป็นอันตรายนั้นจะเกิดขึ้นจริง และการรับประกันการเกิดขึ้นจริงอย่างน้อย 60 % 3. รหัสสีส้ม (Code oranje) = ต้องเตรียมตัว ถ้ากรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนรหัสนี้ จะเริ่มออกเป็นข่าวใหญ่เตือนไปทั่วประเทศค่ะ จะเจอเป็นพาดหัวข่าว Code Oranje …. เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมตัวค่ะ รหัสสีส้มนี้แปลว่า มีความเสี่ยงที่ของสภาพอากาศไม่น้อยกว่า 60% ที่จะเป็นอันตรายหรือส่งผลกระทบรุนแรง มีขนาดใหญ่และมีความเสี่ยงของการเกิดความเสียหายการบาดเจ็บหรือความไม่สะดวกขึ้น รหัสสีส้มจะประกาศล่วงหน้า 24 ชั่วโมงก่อนการเกิดขึ้นจริงค่ะ 4. รหัสสีแดง (Code rood)…

"รหัสสีเตือนภัยพิบัติของเนเธอร์แลนด์"